บทความวิชาการ
วารสารยาน่ารู้
ชื่อบทความ วารสารยาน่ารู้
ผู้เขียนบทความ ภญ.อ.ฐิยาภา วีรยาชาญกุล (B.Pharm Clinical Pharmacy, MSc. Clinical Pharmacology) สาขาวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติและการบริบาล มหาวิทยาลัยบูรพา
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-1-000-001-04-2559
ผู้ผลิตบทความ เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 01 เม.ย. 2559
วันที่หมดอายุ 31 มี.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ไขมันตัวร้าย หรือ LDL-C (Low-density lipoprotein cholesterol) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ดังนั้นการลดไขมัน LDL จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้1 ยาลดไขมันที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการลด LDL-C คือ ยากลุ่มสตาติน (statins) หรือ HMG-CoA (Hydroxy-methyl-glutaryl-Coenzyme A) reductase inhibitors ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ HMG-CoA reductase ซึ่งเป็น rate limiting step ในการกระบวนการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล โดยมีข้อมูลงานวิจัยสนับสนุนว่า statins สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ (Atherosclerotic cardiovascular disease; ASCVD)1 และผลข้างเคียงที่สำคัญของยากลุ่มนี้ คือ การเกิดพิษต่อกล้ามเนื้อ (muscle toxicity) และตับอักเสบ (hepatitis) เช่น การอักเสบของกล้ามเนื้อ (myositis) โดยมีเอนไซม์ creatinine phosphokinase (CPK) เพิ่มสูงขึ้นซึ่งสามารถพบได้มากถึง 1-20% ของผู้ป่วยที่ใช้ statins2, 3 และบางรายอาจรุนแรงถึงขั้น rhabdomyolysis ซึ่งเป็นภาวะที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงจนกล้ามเนื้อเกิดการสลายและปลดปล่อย myoglobulin ออกมาทางปัสสาวะ และเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure)4 นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้ยา statins แล้วไม่เกิดการตอบสนองในการลดระดับ LDL-C หรือไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของยากลุ่ม statins ได้ (statins intolerance)5, 6
คำสำคัญ