บทความวิชาการ
ยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์: กลุ่ม disease-modifying antirheumatic drugs (DMARDs)
ชื่อบทความ ยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์: กลุ่ม disease-modifying antirheumatic drugs (DMARDs)
ผู้เขียนบทความ รศ.ดร.ภญ. นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-001-03-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 10 พ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 09 พ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคภูมิต้านตนเอง มีสาเหตุที่ซับซ้อน เกี่ยวข้องกับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันและ signaling protein molecules หลายชนิด disease-modifying antirheumatic drugs (DMARDs) มีบทบาทสำคัญในการรักษาโรคนี้ แบ่ง DMARDs ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยาเคมีสังเคราะห์ (synthetic chemical DMARDs) และกลุ่มยาชีววัตถุ (biological DMARDs) ตัวอย่างยาในกลุ่มแรก เช่น methotrexate, corticosteroids, hydroxychloroquine, sulfasalazine, leflunomide, tofacitinib ยาเหล่านี้ยกเว้น tofacitinib ล้วนออกฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันแบบไม่เจาะจง ส่วน tofacitinib ออกฤทธิ์ตรงเป้าหมายโดยยับยั้งเอนไซม์ Janus kinase ซึ่ง methotrexate เป็น DMARD ที่มักนำมาใช้เป็นอันดับแรก ส่วนกลุ่มที่เป็นยาชีววัตถุมีบทบาทโดดเด่นมากในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง TNF-α inhibitors เช่น etanercept, infliximab, adalimumab ยังมียาชีววัตถุอีกหลายชนิดที่มีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันไป เช่น anakinra ออกฤทธิ์เป็น interleukin-1 receptor antagonist, abatacept ออกฤทธิ์เป็น co-stimulation blocker, rituximab ออกฤทธิ์ต้าน B cells (anti-CD20), tocilizumab ออกฤทธิ์เป็น IL-6 receptor inhibitor ในบรรดา DMARDs ที่เป็นยาชีววัตถุ TNF-α inhibitors มักนำมาใช้เป็นอันดับแรก ยาต่างๆ ที่กล่าวมาล้วนมีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย จึงมีอาการไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวกับการติดเชื้อได้ง่าย และยาเหล่านี้ยังไม่อาจหยุดยั้งการรุดหน้าของโรคได้อย่างสมบูรณ์ จึงยังคงมีการคิดค้นหายาใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ยาที่ดีที่สุดและสามารถหยุดยั้งการรุดหน้าของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
คำสำคัญ
rheumatoid arthritis, disease-modifying antirheumatic drug, synthetic chemical DMARD, biological DMA
วิธีสมัครสมาชิก
สมัครสมาชิกได้ที่
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/member.php

เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านบทความแล้วทำแบบทดสอบ Online ได้ที่
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/cpe