บทความวิชาการ
ผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดจากยารักษาโรคจิต (Cardiovascular Effects of Antipsychotic Drugs)
ชื่อบทความ ผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดจากยารักษาโรคจิต (Cardiovascular Effects of Antipsychotic Drugs)
ผู้เขียนบทความ อ.ภญ.เรวดี วงศ์ปการันย์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-1-000-002-10-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 14 ก.ย. 2559
วันที่หมดอายุ 13 ก.ย. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การเกิดผลข้างเคียงของยารักษาโรคทางจิตต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น มักคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ 2 ปัจจัย ได้แก่ โรคและภาวะร่วมของผู้ป่วย และยาที่มีความเสี่ยงสูง เภสัชกรควรติดตามผู้ป่วยที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ มีโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง สมดุลแร่ธาตุผิดปกติ หรือได้รับยาที่อาจเกิดปัญหาอันตรกิริยา สำหรับยาที่มีความเสี่ยงสูงต่อ orthostatic hypotension, reflex tachycardia, weight gain ได้แก่ clozapine olanzapine chlorpromazine thioridazine risperidone quetiapine ผลข้างเคียงส่วนใหญ่มักอธิบายได้ด้วยเภสัชวิทยาของยา ผู้ป่วยสามารถทนต่อผลข้างเคียงได้เมื่อเริ่มรักษาด้วยยาขนาดต่ำ หรือ รักษาอย่างต่อเนื่อง หากยังทนไม่ได้ อาจต้องลดขนาดยาให้เหมาะสม ร่วมกับติดตามอาการทางจิต การเกิด SCD มักเป็นผลมาจาก QT prolongation และ TdPs ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ thioridazine, pimozide, haloperidol IV, ziprasidone ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือหากจำเป็นต้องรักษาด้วยยาดังกล่าว อาจต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนเริ่มยา และติดตามอาการ และ QT interval อย่างใกล้ชิด หาก QT prolongation > 500 ms หรือสูงกว่าค่าปกติ > 60 ms หรือหากผู้ป่วยแสดงอาการทางคลินิก ต้องหยุดยาทันที ผลข้างเคียง myocarditis และ cardiomyopathy จาก clozapine เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน ถือเป็นผลข้างเคียงที่รุนแรงและจำเป็นต้องหยุดยาทันทีเมื่อพบว่าเกิดขึ้นกับผู้ป่วย อีกทั้งไม่ควรกลับมารักษาด้วยยานี้อีก
คำสำคัญ
Antipsychotic Drugs, Cardiovascular Effects