บทความวิชาการ
เทคโนโลยีอินฟราเรดสำหรับอุตสาหกรรมยา: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้
ชื่อบทความ เทคโนโลยีอินฟราเรดสำหรับอุตสาหกรรมยา: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้
ผู้เขียนบทความ ภก. ณัฐพล คงถาวร และ ภก.ดร. นิติ สันแสนดี
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-1-000-005-10-2559
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 11 ต.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 10 ต.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
เทคนิคอินฟราเรด แบ่งเป็น infrared spectroscopy (IR), near infrared spectroscopy (NIR) และ Raman spectroscopy โดยทั้ง 3 เทคนิคกำลังเป็นที่สนใจในวงการอุตสาหกรรมยา เนื่องจากทั้ง 3 เทคนิคถูกระบุไว้ในเภสัชตำรับ และถูกนำไปประยุกต์ใช้ในงานประกันคุณภาพ โดยเฉพาะในการใช้สำหรับการพิสูจน์เอกลักษณ์ของวัตถุดิบตั้งต้นหรือสาร ช่วยทางเภสัชกรรมต่างๆในอุตสาหกรรมการผลิตยา เทคนิคการตรวจเอกลักษณ์ที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ เทคนิค IR เนื่องจากเป็นวิธีตรวจเอกลักษณ์หลักที่ระบุไว้ในหัวข้อการทดสอบในเภสัชตำรับของวัตถุดิบนั้นๆ ส่วนเทคนิค NIR และ Raman spectroscopy ได้ถูกนำมาใช้ในการตรวจเอกลักษณ์วัตถุดิบเช่นเดียวกันเนื่องจากสามารถตรวจเอกลักษณ์ วัตถุดิบได้อย่างรวดเร็ว และสามารถตรวจผ่านภาชนะบรรจุได้ จึงเป็นการง่ายที่จะตรวจจากทุกภาชนะบรรจุที่เข้ามาในคลัง สำรองวัตถุดิบ อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2559 ที่ได้ระบุให้มีการเก็บตัวอย่างมาจากทุกภาชนะ บรรจุของทั้งรุ่น และนำแต่ละตัวอย่างนั้นมาทำการทดสอบเอกลักษณ์ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยาอีกด้วย นอกจากการ ประยุกต์ใช้เชิงคุณภาพแล้วในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้เทคนิคอินฟราเรดทั้ง 3 วิธีในเชิงปริมาณ เช่น การวิเคราะห์ปริมาณ ของตัวยาสำคัญ แต่กำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย จึงต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
คำสำคัญ
เทคโนโลยีอินฟราเรด สเปกโตรสโคปีรังสีใต้แดงช่วงคลื่นใกล้ รามานสเปกโตรสโคปี การตรวจสอบ เอกลักษณ์มาตรฐา