บทความวิชาการ
Review of Anti-hypertensive treatments
ชื่อบทความ Review of Anti-hypertensive treatments
ผู้เขียนบทความ อ.ภก.กฤติน บัณฑิตานุกูล ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-1-000-005-10-2559
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 01 พ.ย. 2559
วันที่หมดอายุ 31 ต.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคพบว่ามีประชากรไทยที่มีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไปจำนวนร้อยละ 20-25 จะมีภาวะความดันโลหิตสูง 13 ล้านคนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยอัตราการเสียชีวิตจากภาวะความดันโลหิตสูงในปี พ.ศ. 2558 จะเท่ากับร้อยละ 25.3 แต่มีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 44 เท่านั้นที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่1 ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษา องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่าระดับความดันโลหิตที่สูงกว่า 115 mmHg จะมีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ประมาณร้อยละ 62 และโรคหัวใจขาดเลือดประมาณร้อยละ 492 นอกจากนี้ข้อมูลการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าความเสี่ยงในการเกิด stroke, myocardial infarction (MI), angina, heart failure (HF), kidney failure และการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับความดันโลหิต ซึ่งความเสี่ยงจะเริ่มตั้งแต่ระดับความดันโลหิตที่สูงมากกว่า 115/75 mmHg3 ระดับความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 20/10 mmHg จากระดับความดันโลหิตดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดประมาณ 2 เท่า4,5 ดังนั้นภาวะความดันโลหิตสูงจึงเป็นโรคที่สำคัญและมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลก
คำสำคัญ
1. ทบทวนกลไกการออกฤทธิ์ ขนาดการใช้ยา อาการไม่พึงประสงค์ของยาลดความดันโลหิตกลุ่มหลัก 2. สามารถให้คำ