บทความวิชาการ
Continuous Glucose Monitoring (CGM)
ชื่อบทความ Continuous Glucose Monitoring (CGM)
ผู้เขียนบทความ ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รหัสกิจกรรม 1013-1-000-004-11-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 08 พ.ย. 2559
วันที่หมดอายุ 07 พ.ย. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Continuous Glucose Monitoring (CGM) เป็นระบบตรวจวัดระดับน้ำตาลในร่างกาย และรายงานผลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำชนิดรุนแรงหรือที่เกิดอันตราย เพราะระบบนี้จะเตือนให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลได้รับรู้ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จนเป็นที่ยอมรับและอนุญาตให้ใช้ CGM ในหลายประเทศ แต่อย่างไรก็ตามอุปกรณ์นี้ยังต้องพัฒนาความแม่นยำและถูกต้องให้ถึงระดับที่ได้มาตรฐาน ผู้ที่ใช้ CGMจึงยังต้องใช้ Self-monitoring of blood glucose meter (SMBG) ประกอบเพื่อยืนยันค่าระดับน้ำตาลในเลือดก่อนการปรับการรักษาทุกครั้ง ระบบ CGM จะประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ sensor, transmitter และ mobile application ที่จะทำหน้าที่ตรวจจับน้ำตาล ส่งข้อมูล ทำการคำนวณ แปลผล และแสดงค่าน้ำตาลให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแล รวมถึงการเตือนเมื่อระดับน้ำตาลผิดปกติ ซึ่งในการศึกษา PRECISE ที่ทดลองใช้ CGM พบว่า ค่า mean absolute relative difference (MARDs) ระหว่างระดับน้ำตาลที่อ่านได้จาก CGM และระดับน้ำตาลที่ตรวจวัดจากเลือดของระดับน้ำตาลทุกช่วง = 11.6% ลดระดับ HbA1c จาก 7.5% เมื่อแรกเข้า เหลือ 7.2% เมื่อสิ้นสุดการศึกษา (p < .001) และลดเวลาที่เกิดระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจาก 5.3% ในเดือนแรก เหลือ 4.4% ในเดือนสุดท้าย (p = .003) ในด้านอายุการใช้งานของ sensor มีค่ามัธยฐาน เท่ากับ 149 วัน และ sensor ทุกชิ้น มีอายุการใช้งานอย่างต่ำ 45 วัน และมีความแม่นยำในการส่งสัญญาณระดับน้ำตาลได้ตลอดอายุการใช้งาน (เมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์รุ่นอื่นที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบัน มีค่ามัธยฐานของอายุการใช้งาน < 7 วัน) ในด้านความปลอดภัย จากจำนวนครั้งของการฝังอุปกรณ์ในกลุ่มทดลองทั้ง 292 ครั้ง ไม่พบอาการอันไม่พึงประสงค์โดยตรงจากอุปกรณ์นี้เลย แต่พบว่าเกิดจากกรรมวิธีในการฝัง 14 ครั้ง และในจำนวนนี้มีการติดเชื้อ 2 ครั้ง และอุปกรณ์ Eversense® นี้ได้รับการอนุมัติจากสหภาพยุโรป ให้ใช้ในผู้ป่วยเบาหวานได้ นาน 90 วัน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบ CGM แบบ non-invasive และต่อยอด CGM ไปเป็น ตับอ่อนเทียม ที่สมบูรณ์แบบได้ในอนาคตอันใกล้นี้
คำสำคัญ
Continuous Glucose Monitoring, PRECISE, Non Invasive Continuous Glucose Monitoring, Artificial pancr