บทความวิชาการ
Pharmacotherapy of schizophrenia
ชื่อบทความ Pharmacotherapy of schizophrenia
ผู้เขียนบทความ ภก. ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
รหัสกิจกรรม 1014-1-000-002-12-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 30 พ.ย. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคจิตเภท (schizophrenia) เป็นโรคทางจิตเวชที่รุนแรง และก่อให้เกิดความสูญเสียทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก มีลักษณะเป็นโรคเรื้อรัง และพบการกลับเป็นซ้ำ (recurrent) ได้บ่อย มีกลุ่มอาการหลากหลาย ทั้งอาการหลักคืออาการด้านบวก (positive symptoms) เช่น หลงผิด (delusion) ประสาทหลอน (hallucination) อาการด้านลบ (negative symptoms) เช่น พูดน้อย แยกตัวจากสังคม อาการด้านพุทธิปัญญา (cognitive symptoms) เช่น ความจำลดลง ความสามารถในการวางแผนและการแก้ปัญหาบกพร่อง นอกจากนี้ยังอาจพบอาการทางด้านอารมณ์ (affective symptoms) เช่น อารมณ์เศร้า วิตกกังวล เป้าหมายการรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภท คือ บรรเทาอาการทุกๆ ด้านของผู้ป่วย ป้องกันการกำเริบหรือการกลับเป็นซ้ำของตัวโรค และให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตและทำงานในสังคมได้อย่างปกติ1 บทความนี้จะกล่าวถึงแนวทางการรักษาโรคจิตเภทโดยเน้นถึงหลักการใช้ยาต้านโรคจิตเภทอย่างเหมาะสม
คำสำคัญ