บทความวิชาการ
การดูแลผู้ป่วยที่เกิดปฏิกิริยาแพ้แบบ Anaphylaxis
ชื่อบทความ การดูแลผู้ป่วยที่เกิดปฏิกิริยาแพ้แบบ Anaphylaxis
ผู้เขียนบทความ ภญ. ธนิยา เจริญเสรีรัตน์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
รหัสกิจกรรม 1014-1-000-003-12-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 30 พ.ย. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบ anaphylaxis เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญเนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิต สารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ อาหาร แมลง กัดต่อยและยาบางชนิด เช่น กลุ่มยา β-lactam, NSAIDs กลไกการเกิดปฏิกิริยาการแพ้สามารถกระตุ้นผ่านภูมิคุ้มกันหรือมีผลต่อ mast cell ได้โดยตรงให้มีการหลั่งสารสื่อกลางที่ทำให้เกิดการแพ้คือฮิสตามีน (histamine) ส่งผลให้ร่างกายมีการตอบสนองและมีอาการแพ้เกิดขึ้น เกณฑ์การวินิจฉัยในปัจจุบันพิจารณาจากอาการที่สงสัยว่าเกิดการแพ้แบบรุนแรงร่วมกับมีประวัติแพ้สารก่อภูมิแพ้เป็นหลัก สำหรับยาตัวแรกที่มีข้อบ่งใช้ในการรักษาคือ adrenaline ในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณตรงกลางต้นขาด้านนอกเนื่องจากทำให้ระดับยาในเลือดและเนื้อเยื่อสูงอย่างรวดเร็ว ร่วมกับการพิจารณาให้ยากลุ่ม antihistamines, corticosteroids และ/หรือ ยาพ่นขยายหลอดลมร่วมด้วย ในกรณีของการป้องกันการเกิดปฏิกิริยาแพ้ซ้ำ บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรตระหนักถึงความสำคัญและพิจารณาการสั่งใช้ยา adrenaline แบบพกติดตัวแก่ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งใช้เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน สอนให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ โดยการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ สามารถประเมินอาการแพ้ของตนเองและใช้ยาเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดปฏิกิริยาการแพ้ซ้ำ
คำสำคัญ