บทความวิชาการ
การทดสอบการละลายของยากินในรูปของแข็ง
ชื่อบทความ การทดสอบการละลายของยากินในรูปของแข็ง
ผู้เขียนบทความ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ภก. สมพล ประคองพันธ์
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2006-1-000-002-12-2559
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 08 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 07 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
อัตราการละลายของยากินเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของยาในร่างกาย เนื่องจากตัวยาสำคัญต้องเกิดการละลายหรือปลดปล่อยจากตำรับยาในทางเดินอาหารก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย การทดสอบอัตราการละลายของยาจึงถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในขั้นตอนต่างๆในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ยานั้น นับตั้งแต่การพัฒนาตำรับยา การขึ้นทะเบียนยา การปรับปรุงสูตรตำรับ กรรมวิธีการผลิต การควบคุมคุณภาพ ตลอดจนการกำหนดอายุการใช้ของยา อัตราการละลายของยายังมีบทบาทสำคัญในการบ่งชี้ ความจำเป็นที่ต้องทดสอบชีวสมมูลของยาเมื่อมีการเปลียนแปลงปรับปรุงการผลิตยา นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการเปรียบเทียบชีวสมมูลของยาหลายชนิดโดยไม่จำป็นต้องทดสอบในคน (biowaiver) โดยทั่วไปแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่มีการละลายในร่างกาย (in vivo) เหมือนกันมักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชีวสมมูล บทความนี้จึงได้รวบรวมหลักเกณฑ์การประยุกต์ใช้การทดสอบการละลายของยาในกรณีต่างๆ
คำสำคัญ
Dissolution Test, Bioavailability, Biowaiver, Biopharmaceutics Classification System