บทความวิชาการ
มะยม พืชมงคลของไทย
ชื่อบทความ มะยม พืชมงคลของไทย
ผู้เขียนบทความ พนิดา พานทอง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสกิจกรรม 1011-1-000-002-12-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 26 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 25 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
มะยม หรือ Star gooseberry (Phyllanthus acidus (L.) Skeels) เป็นผลไม้รสเปรี้ยวที่นิยมรับประทาน มีการนำมาใช้ในการรักษาโรคตามวิถีการแพทย์พื้นบ้าน เช่น ใช้เป็นยาระบาย, ลดความดันโลหิต, ปกป้องตับ, ป้องกันเบาหวาน, แก้ปวด, บรรเทาอาการไอ, หอบหืด และรักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น จากการศึกษาทางพฤกษเคมีและเภสัชวิทยาพบกลุ่มสารในผลมะยม ประกอบไปด้วยสารกลุ่ม ฟีนอลิค, ฟลาโวนอยด์, ไฟโตสเตอรอล, คาร์โบไฮเดรต, แทนนิน, เทอร์พีนอยด์, ซาโปนิน, โปรตีน, กรดอะมิโน, วิตามิน ซี, แคลเซี่ยม, ฟอสฟอรัส และ เหล็ก[1] เป็นต้น โดยในรากยังพบสาร Phyllanthusol A และ B ซึ่งถือว่าเป็นสารเอกลักษณ์ของพืชมะยมด้วย สารสำคัญเหล่านี้ทำให้มะยมมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลาย ได้แก่ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ต้านอาการปวด, ต้านอนุมูลอิสระ, ปกป้องตับ, ต้านเชื้อรา, ต้านเชื้อแบคทีเรีย, ลดระดับน้ำตาลในเลือด, ขับปัสสาวะ, ต้านเชื้อวัณโรค และ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอร์เรส เป็นต้น[1,2] อย่างไรก็ตามผลการศึกษาเหล่านี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่นำไปสู่การศึกษาเพิ่มเติม หรือการนำไปประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ
คำสำคัญ
มะยม, Star gooseberry, Phytochemistry, Biological activities