บทความวิชาการ
The latest algorithm for the treatment of osteoarthritis: from evidence-based medicine to real-life setting และ Non-alcoholic fatty liver (NAFLD): the silent-killer from metabolic syndrome
ชื่อบทความ The latest algorithm for the treatment of osteoarthritis: from evidence-based medicine to real-life setting และ Non-alcoholic fatty liver (NAFLD): the silent-killer from metabolic syndrome
ผู้เขียนบทความ เรียบเรียงบทความวิชาการจากการถอดเทปบันทึกภาพการบรรยายโดย ภก.นันทพงศ์ บุญฤทธิ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-1-000-002-12-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 26 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 25 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis หรือ OA) มักเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายซึ่งจัดเป็น โรคข้อเสื่อมปฐมภูมิ (primary OA) ส่วนน้อยประมาณร้อยละ 5 จัดเป็นโรคข้อเสื่อมขั้นทุติยภูมิ (secondary OA) ที่อาจพบในผู้ป่วยอายุน้อยและมีสภาวะความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น มีประวัติการบาดเจ็บของข้อ มีความผิดปกติของข้อแต่กำเนิด โรคเบาหวาน หรือมีภาวะอ้วน การดูแลรักษาด้วยยาสำหรับผู้ป่วยข้อเสื่อมดูจะไม่ใช่วิถีทางเดียวที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ แต่จะต้องใช้องค์ความรู้ในการดูแลอย่างองค์รวมมากขึ้น โดยหวังให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่อง ภาวะไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่ไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับมากกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตับ เกิดได้ทั้งคนที่ดื่มสุรา และคนที่ไม่ดื่มสุรา (Non-alcoholic fatty liver disease หรือ NAFLD) ซึ่งปัจจุบัน NAFLD มีอุบัติการณ์ที่มากขึ้นสัมพันธ์กับความอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคทางระบบเมตาบอลิก จึงเป็นภาวะที่เกิดคู่ไปกับภาวะหรือโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญของคนไทยในปัจจุบัน ร้านยาเป็นแหล่งดูแลสุขภาพที่ใกล้ชิดชุมชน มักมีผู้ใช้บริการมาปรึกษา ทั้งเรื่องความปวด ไม่ว่าจะเป็นการปวดกล้ามเนื้อ ความปวดจากการบาดเจ็บของข้อหรือจากข้อเสื่อม ซึ่งมักจะต้องใช้ยาหรือการดูแลอย่างต่อเนื่องยาวนาน นอกจากนี้ ความห่วงใยในเรื่องภาวะไขมันพอกตับ จึงทำให้มีผู้คนส่วนหนึ่งต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อบำรุงตับ หรือลดไขมันจากร้านยา ทั้งยาที่ออกฤทธิ์ต่อการลดไขมันในเลือด หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ เภสัชกรร้านยาจึงเป็นแหล่งให้ข้อมูลข่าวสารที่สำคัญแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ในการปฏิบัติตัว การใช้ผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการเป็นที่ตั้ง ชมรมเภสัชกรชุมชน จังหวัดสงขลา ได้เห็นความสำคัญของประเด็นดังกล่าว จึงได้มีการจัดประชุมวิชาการให้ความรู้แก่เภสัชกรชุมชน และเภสัชกรผู้สนใจ จึงได้เชิญวิทยากรผู้มีความรู้ความชำนาญในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้เภสัชกรสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการให้บริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยในร้านยา หรือสถานบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องได้
คำสำคัญ
Osteoarthritis, non-alcoholic fatty liver disease, non-alcoholic steatohepatitis
วิธีสมัครสมาชิก
ขณะนี้ทางหน่วยงานเปิดให้ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดและเริ่มทำแบบทดสอบได้โดยไม่จำกัดสิทธิ์แก่สมาชิก และในปีใหม่นี้ เตรียมพบกับ web site ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในรูปแบบใหม่ได้ที่ http://cpe.pharmacy.psu.ac.th/ เพียงแค่สมัครสมาชิกกับทางเรา ท่านสามารถอ่านและทำแบบทดสอบบทความทางวิชาการ ตลอดจนติดตามข้อมูลข่าวสารงานประชุมของทางหน่วยงานได้เลย (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น) เปิดรับสมาชิกใหม่ในเร็วๆ นี้ โปรดติดตามข่าวสารได้จากทางหน้า web site ดังกล่าวนะคะ