บทความวิชาการ
สาเหตุและการแก้ไขภาวะการตอบสนอง ต่อยา levodopa ไม่สม่ำเสมอ
ชื่อบทความ สาเหตุและการแก้ไขภาวะการตอบสนอง ต่อยา levodopa ไม่สม่ำเสมอ
ผู้เขียนบทความ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.รัชนี รอดศิริ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-1-000-004-12-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 29 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 28 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากการตายของเซลล์ประสาท dopamine ที่ substantia nigra ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหว ได้แก่ สั่นขณะพัก เคลื่อนไหวช้า เกร็ง และเสียการทรงตัว levodopa เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ dopamine ใช้เป็นยาหลักในการรักษาโรคพาร์กินสัน levodopa จะถูกดูดซึมทางลำไส้เล็กและถูกเปลี่ยนแปลงภายนอกสมองด้วยเอนไซม์ aromatic amino acid decarboxylase (AADC) ได้ dopamine ทำให้มีผลข้างเคียงได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนอิริยาบถนอกจากนี้ทำให้ levodopa ผ่านเข้าสมองน้อยลง ดังนั้นจึงต้องรับประทาน levodopa ร่วมกับยากลุ่ม AADC inhibitor เช่น carbidopa และ benserazide นอกจากนี้ levoopa ถูกเปลี่ยนแปลงภายนอกสมองด้วยเอนไซม์ catechol-O-methyltransferase (COMT) การให้ levodopa ร่วมกับ COMT inhibitor เช่น entacapone จึงเพิ่มปริมาณ levodopa ที่เข้าสู่สมองเช่นกัน การใช้ levodopa ไปเป็นระยะเวลานานพบว่าผู้ป่วยเกิดการตอบสนองต่อ levodopa ไม่สม่ำเสมอ ทั้งนี้เนื่องจาก levodopa มีค่าครึ่งชีวิตที่สั้น (1-3 ชั่วโมง) นอกจากนี้การที่เซลล์ประสาทตายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่สามารถเก็บ dopamine ที่ถูกเปลี่ยนแปลงมาจาก levodopa ไว้ใน vesicle ที่ปลาย axon ได้เพียงพอ การตอบสนองต่อยาจึงขึ้นกับระดับของ levodopa ในเลือดเท่านั้น ลักษณะของภาวะตอบสนองต่อ levodopa ไม่สม่ำเสมอได้แก่ end-of-dose wearing off และ peak-dose dyskinesia End-of-dose wearing off คือภาวะที่ผู้ป่วยจะมีอาการเกร็งและเคลื่อนไหวไม่ได้ก่อนได้รับยามื้อถัดไป ทั้งนี้เนื่องจากระดับ levodopa และ dopamine ลดลง แนวทางการแก้ไขภาวะ wearing off ได้แก่ เพิ่มความถี่ในการรับประทาน levodopa, การให้ COMT inhibitor และ/หรือ MAOB inhibitor และ/หรือ dopamine agonist ร่วมด้วย Peak-dose dyskinesia คืออาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่คอ หลัง แขนขา โดยอยู่นอกเหนือการควบคุมของจิตใจ ภาวะ dyskinesia จากการที่มีระดับ levodopa และ dopamine ในสมองสูงเกินไป แนวทางการแก้ไขภาวะ dyskinesia ได้แก่ ลดขนาดยา levodopa, ให้ยา amantadine ร่วมด้วย, การผ่าตัด วิธีการอื่นๆ ในการรักษาภาวะการตอบสนองต่อ levodopa ไม่สม่ำเสมอได้แก่ การให้ levodopa ในรูปแบบ Levodopa/carbidopa intraduodenal/jejunal infusion
คำสำคัญ
โรคพาร์กินสัน, levodopa, dyskinesia, wearing off