บทความวิชาการ
ยาต้านจุลชีพสำหรับใช้ภายนอกในรูปแบบไมโครอิมัลชัน
ชื่อบทความ ยาต้านจุลชีพสำหรับใช้ภายนอกในรูปแบบไมโครอิมัลชัน
ผู้เขียนบทความ ภญ. สุกรรณิการ์ ทับทิมศรี
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-1-000-002-01-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 04 ม.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 03 ม.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ไมโครอิมัลชันเป็นระบบนำส่งที่มีความคงตัว สามารถเกิดได้เองโดยไม่ต้องใช้พลังงาน นำส่งได้ทั้งสารที่ชอบน้ำและไม่ชอบน้ำ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ ชนิดน้ำมันในน้ำ ชนิดน้ำในน้ำมัน และชนิดต่อเนื่องแบบคู่ ไมโครอิมัลชันสามารถนำไประยุกต์ใช้ในการนำส่งยาทั้งในรูปแบบ แคปซูล แผ่นแปะ แผ่นนาโนไฟเบอร์ เจล ยาพ่น และยาฉีด ไมโครอิมัลชันประกอบด้วย น้ำ น้ำมัน สารลดแรงตึงผิวและสารลดแรงตึงผิวร่วม การตั้งตำรับทำได้โดยหาอัตราส่วนขององค์ประกอบที่เหมาะสมผ่านแผนภาพไตรวัฏภาคเทียม หัวข้อที่ใช้ในการประเมินไมโครอิมัลชัน ได้แก่ ขนาดหยดวัฏภาคภายใน ค่าศักย์ซีต้า พฤติกรรมการไหล ค่าการนำไฟฟ้า ภาพถ่ายภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน และการประเมินเฉพาะด้านอื่น ๆ ขึ้นกับรูปแบบและวัตถุประสงค์ในการพัฒนา การนำไมโครอิมัลชันมาประยุกต์ใช้ในการนำส่งยาต้านจุลชีพสำหรับใช้ภายนอก พบว่าไมโครอิมัลชันมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลชีพทั้งเชื้อราและแบคทีเรียมากกว่ายาใช้ภายนอกในรูปแบบครีม ยาหรือสารสำคัญเดี่ยว ๆ และกลุ่มควบคุมแบบบวก นอกจากนี้ไมโครอิมัลชันยังมีความปลอดภัยในการใช้เมื่อใช้ภายนอก โดยไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ด้วยเหตุนี้ไมโครอิมัลชันจึงเป็นระบบนำส่งยาที่เหมาะสมในการนำส่งยาต้านเชื้อจุลชีพ และยังเหมาะสมในการผลิตระดับอุตสาหกรรม
คำสำคัญ