บทความวิชาการ
วงแหวนสอดช่องคลอดคุมกำเนิด
ชื่อบทความ วงแหวนสอดช่องคลอดคุมกำเนิด
ผู้เขียนบทความ รศ.ภญ.วรรณคล เชื้อมงคล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รหัสกิจกรรม 1008-1-000-001-02-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 06 ก.พ. 2560
วันที่หมดอายุ 05 ก.พ. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
วงแหวนสอดช่องคลอดคุมกำเนิด เป็นรูปแบบหนึ่งในการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว ภายในวงแหวนสอดช่องคลอดคุมกำเนิด บรรจุฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินคล้าย ๆ กับที่มีอยู่ในยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม กลไกการออกฤทธิ์ของวงแหวนสอดช่องคลอดคุมกำเนิด คือ การยับยั้งการตกไข่ ซึ่งเป็นกลไกหลัก ส่วนกลไกอื่น ๆ ได้แก่ การทำให้เกิดการหนืดข้นของมูกปากมดลูก ซึ่งมีผลขัดขวางการเคลื่อนที่ของสเปิร์มไปผสมกับไข่ และยังมีฤทธิ์ต่อเยื่อบุมดลูก ทำให้ผนังมดลูกบางลง ไม่เหมาะสมต่อการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว ปัจจุบัน NuvaRing® เป็นวงแหวนสอดช่องคลอดคุมกำเนิดเพียงชนิดเดียวที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ข้อดีของการคุมกำเนิดโดยวิธีนี้คือ มีประสิทธิภาพการคุมกำเนิดไม่แตกต่างจากยาเม็ดคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม แต่มีอาการไม่พึงประสงค์ต่ำกว่า เนื่องจากให้ระดับเอสโตรเจนในเลือดต่ำกว่า ผู้ใช้สามารถใส่ได้ด้วยตนเองเพียงเดือนละครั้ง ทำให้สะดวก เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบรับประทานยาหรือมักลืมรับประทานยาคุมกำเนิดบ่อย ๆ โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย มักเป็นอาการเฉพาะที่ ได้แก่ ช่องคลอดอักเสบ และมีตกขาว โดยพบประมาณ 5-6% ส่วนอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ จะคล้ายคลึงกับที่พบจากการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม แต่พบน้อยกว่า ซึ่งได้แก่ มีเลือดออกกะปริบกะปรอยในช่วงแรกที่ใช้ ปวดศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้ และคัดตึงเต้านม
คำสำคัญ
วงแหวนสอดช่องคลอดคุมกำเนิด, vaginal ring, NuvaRing®