บทความวิชาการ
สตรีวัยหมดประจำเดือนและแนวทางการรักษา
ชื่อบทความ สตรีวัยหมดประจำเดือนและแนวทางการรักษา
ผู้เขียนบทความ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภก.อรรถการ นาคำ
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-1-000-003-06-2560
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 09 มิ.ย. 2560
วันที่หมดอายุ 08 มิ.ย. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
วัยทองเป็นช่วงของชีวิตที่สตรีทุกคนต้องประสบเมื่ออายุถึงวัยกลางคนหรือเมื่ออายุประมาณ 45-55 ปี ในวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน คือจะมามากบ้าง น้อยบ้าง ขาดหายไปบ้างในบางเดือน สุดท้ายถ้าประจำเดือนจะขาดหายไปเกิน 12 เดือนก็เรียกว่า “หมดประจำเดือน (menopause)”(1) วัยทองเป็นวัยที่มีเสื่อมสมรรถภาพของรังไข่ ทำให้มีการสร้างฮอร์โมน estrogen ท้ายที่สุดก็จะมีการหยุดการสร้างไปในที่สุด ทำให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ของระบบสุขภาพมากมายทั้งในระยะสั้น (menopausal symptoms) และอาการในระยะยาวเกี่ยวกับร่างกาย เช่น กระดูกบางและพรุน, อาการทางโรคหัวใจ และอาการทางสมอง ดังนั้นการดูแลสตรีวัยทองจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้ป้องกันหรือบรรเทาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
คำสำคัญ
1. เพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิสภาพของสตรีวัยหมดประจำเดือน 2. เพื่อให้ทราบอาการ