บทความวิชาการ
การบริหารยา midazolam ทางจมูกเพื่อรักษาอาการชัก
ชื่อบทความ การบริหารยา midazolam ทางจมูกเพื่อรักษาอาการชัก
ผู้เขียนบทความ ภญ.กัลยรัตน์ สุสัณฐิตพงษ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รหัสกิจกรรม 1008-1-000-006-07-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ก.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 30 มิ.ย. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ยา midazolam เป็นยาในกลุ่ม benzodiazepines ซึ่งออกฤทธิ์จับกับ benzodiazepine receptor บน GABA receptor ทำให้เซลล์ถูกกระตุ้นได้ยากขึ้น จึงถูกนำมาใช้เพื่อหยุดอาการชัก (seizure) ในผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยยาตัวแรกที่แนะนำในการหยุดชักของผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คือ diazepam ที่บริหารทางหลอดเลือดดำ หรือทางการเหน็บทวาร ซึ่งการบริหารยาทางหลอดเลือดดำต้องใช้เวลามากในการเปิดหลอดเลือดเพื่อบริหารยา ทำให้ผู้ป่วยชักนานขึ้น นำไปสู่การทำลายเนื้อสมองมากขึ้น และอาจเกิดผลเสียอื่น ๆ ตามมา หรือมีความไม่สะดวกที่จะบริหารยาแบบเหน็บทวาร จึงได้มีการพัฒนาการบริหารยาทางจมูกขึ้น แต่เนื่องจาก diazepam เป็นยาที่ละลายน้ำได้น้อยต้องใช้แอลกอฮอล์เพื่อเพิ่มการละลาย และการดูดซึมไม่แน่นอน จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้บริหารยาทางจมูก ทำให้มีการพัฒนาการบริหารยา midazolam ทางจมูก มาใช้เพื่อหยุดอาการชัก เพราะตัวยา midazolam น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการนำมาบริหารยาทางจมูก เนื่องจากยามีโมเลกุลเล็ก ละลายน้ำได้ดี แต่ที่ pH ของร่างกาย (pH 7.35–7.45) จะเปลี่ยนมาละลายในไขมันได้ดี ทำให้ยาดูดซึมผ่านเยื่อบุจมูก และผ่านเข้าสมองได้ รวมถึงยาสามารถออกฤทธิ์ได้เร็ว และมีฤทธิ์แรง โดยยามีประสิทธิภาพในการรักษาที่ขนาดต่ำ เก็บรักษาง่าย จึงเหมาะแก่การนำมาบริหารทางจมูก จากการศึกษาทางคลินิกพบว่า การให้ midazolam ขนาด 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อครั้ง โดยการบริหารยาทางจมูก (intranasal) มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างจากการรักษามาตรฐาน และการบริหารยาทำได้ง่ายกว่าจึงใช้เวลาน้อยกว่าในการควบคุมการชัก เมื่อเทียบกับการรักษามาตรฐาน
คำสำคัญ
midazolam, intranasal, seizure