บทความวิชาการ
ลดความเสี่ยงจากการใช้ยาด้วยข้อมูล ADR (Adverse Drug reaction)
ชื่อบทความ ลดความเสี่ยงจากการใช้ยาด้วยข้อมูล ADR (Adverse Drug reaction)
ผู้เขียนบทความ ภก.ภาสกร รัตนเดชสกุล และภญ.จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล
สถาบันหลัก สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
รหัสกิจกรรม 5002-1-000-005-07-2560
ผู้ผลิตบทความ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 17 ก.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 16 ก.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Adverse Drug Reaction: ADR) เป็นอาการที่สามารถพบได้เมื่อมีการใช้ยาเพื่อการบำบัดรักษา อาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้บางครั้งเป็นเหตุการณ์ที่สามารถป้องกันได้ และอาจมีความเกี่ยวข้องกับความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดขึ้นในส่วนของกระบวนการที่เกี่ยวกับการสั่งใช้ยา การจ่ายยา และการบริหารยา หรือติดตามผลหลังจากการใช้ยา ซึ่งบทบาทหลักของเภสัชกรในการจัดการอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยานั้นจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการประเมินอาการไม่พึงประสงค์ และรวบรวมรายงานที่เกิดขึ้น แต่ในการวางระบบจัดการด้านข้อมูล ADR เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการค้นหาความเสี่ยง ปรับปรุง และพัฒนาระบบป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีการดำเนินงานร่วมกันในทีมสหวิชาชีพ เกิดการวางระบบตั้งแต่การทำความเข้าใจในคำนิยาม และรูปแบบการดำเนินงานที่มีมาตรฐานเดียวกัน การรวบรวมข้อมูลในภาพรวมขององค์กร และนำข้อมูลมาค้นหาเหตุการณ์ที่สามารถป้องกันได้ เกิดการวิเคราะห์ และทบทวน ส่งต่อข้อมูล ADR ไปสู่การจัดการ หรือกำหนดแนวทางในเชิงระบบทั้งในส่วนของวิชาชีพเภสัชกร และสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้เกิดระบบการจัดการที่เข้มแข็ง ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัย ไม่เกิดการแพ้ยาซ้ำ หรือลดความรุนแรงจากการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้
คำสำคัญ
Adverse Drug reaction, อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา, การจัดการป้องกัน