บทความวิชาการ
การจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในร้านยา และระบบส่งต่อไปยังสถานพยาบาลหลัก พื้นที่จังหวัดอ่างทอง กรณีศึกษา ภาวะ Ergotism
ชื่อบทความ การจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในร้านยา และระบบส่งต่อไปยังสถานพยาบาลหลัก พื้นที่จังหวัดอ่างทอง กรณีศึกษา ภาวะ Ergotism
ผู้เขียนบทความ ภญ.ศิวพร ปีเจริญทรัพย์
สถาบันหลัก สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
รหัสกิจกรรม 5002-1-000-007-07-2560
ผู้ผลิตบทความ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 27 ก.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 26 ก.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคปวดศีรษะ เป็นโรคที่เภสัชกรชุมชนพบได้บ่อย ดังนั้น เกณฑ์การวินิจฉัย และแก้ปัญหาอาการปวดศีรษะแก่ผู้ป่วยจึงมีความสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ อาการปวดศีรษะไม่ได้มีสาเหตุจากความผิดปกติด้านร่างกายเพียงอย่างเดียว ยังมีอาการปวดศีรษะที่เกิดจากเหตุใช้ยาเกิน (Medication Overuse Headache) ซึ่งเภสัชกรชุมชนที่ปฏิบัติงานอยู่ในร้านยา มีบทบาทสำคัญที่จะวิเคราะห์แยกอาการและหาสาเหตุทีแท้จริงของอาการปวดศีรษะ เพื่อให้การดูแลที่ถูกต้อง ลดการใช้ยาเกินความจำเป็น เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การใช้ยาแก้ปวดเกินความจำเป็นอย่างยาวนาน นอกจากจะทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลงแล้ว อาจจะเกิดผลข้างเคียงจาการใช้ยา อาการ Ergotism ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้ยา Ergotamineในขนาดที่สูงกว่าที่แนะนำ หรือเป็นระยะเวลานาน โดยมีอาการคือ อาการชาปลายมือ ปลายเท้า มือเท้าเย็น คลำชีพจรไม่เจอ ซึ่งเป็นผลจากยา Ergotamine ที่มีฤทธิ์ในการหดหลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งเภสัชกรชุมชนมีบทบาทสำคัญในการประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาดังกล่าว และส่งต่อไปยังแพทย์ในสถานพยาบาลหลักของผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาซ้ำ
คำสำคัญ
ภาวะปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน ,อาการชาจากการใช้ยา,Ergotamine