บทความวิชาการ
วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ: ปัจจุบันและอนาคต
ชื่อบทความ วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ: ปัจจุบันและอนาคต
ผู้เขียนบทความ รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.มะลิ วิโรจน์แสงทอง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-1-000-002-10-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 06 ต.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 05 ต.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคโปลิโอ (poliomyelitis) เป็นโรคติดเชื้อ poliovirus แบบเฉียบพลัน ซึ่งติดต่อจากคนสู่คนทางอุจจาระ-ปาก ก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งระบบทางเดินอาหารและระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อเป็นเด็กและจะไม่แสดงอาการ ส่วนน้อยแสดงอาการ aseptic meningitis หรืออัมพาตกล้ามเนื้อแบบ paralytic poliomyelitis การระบาดของโรคโปลิโอทำให้มีการรณรงค์กวาดล้างโรคโปลิโอ ด้วยการให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ซึ่งมีทั้ง oral poliovirus vaccine (OPV) และ inactivated poliovirus vaccine (IPV) ทั้งสองวัคซีนมีองค์ประกอบ poliovirus 3 types (trivalent, t) เหมือนกันแต่ต่างสายพันธุ์กัน ข้อดีของ tOPV ในด้านกระตุ้นภูมิคุ้มกันในลำไส้เล็ก และภูมิคุ้มกันฝูงชน รวมทั้งราคาถูก ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกลดลงและหยุดการระบาดได้ แต่ข้อเสียของ tOPV ในการก่อให้เกิด vaccine-associated paralytic poliomyelitis (VAPP) และ circulating vaccine-derived poliovirus (cVDPV) แม้จะพบน้อยก็ตาม ทำให้มีการปรับเปลี่ยนการให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอใน expanded program for immunization (EPI) ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 เด็กไทยจะได้รับ bivalent (b)OPV 5 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 เดือน, 1.5 ปี และอายุ 4 ปี และได้รับ tIPV เสริม 1 ครั้ง เมื่ออายุ 4 เดือน ตามแผนการกวาดล้างโรคโปลิโอ จะไม่พบโปลิโอภายใน ปี พ.ศ. 2561 หลังจากนั้นจะถอน bOPV ออกจาก EPI ส่วน IPV จะมาแทน OPV เป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อความมั่นใจว่าโปลิโอได้ถูกกวาดล้างไปจริง แต่ข้อด้อยของ IPV ทำให้มีหลายงานวิจัยพยายามพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
คำสำคัญ
วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ bivalent oral poliovirus vaccine (bOPV), trivalent inactivated poliovirus vac