บทความวิชาการ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของข่อย
ชื่อบทความ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของข่อย
ผู้เขียนบทความ ดร.ภญ.คณาทิพย์ สิงห์สาย
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสกิจกรรม 1011-1-000-001-10-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 10 ต.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 09 ต.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ข่อย (Streblus asper Lour.) เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Moraceae ซึ่งข่อยถูกบรรจุอยู่ในตำราอายุรเวทของประเทศอินเดีย พฤกษเคมีหรือสารเคมีที่สำคัญในข่อยประกอบไปด้วยสารประเภทไกลโคไซด์ (glycosides) และสารประกอบฟีนอล (polyphenolic compounds) โดยสารประกอบทางเคมีเหล่านี้มีรายงานว่าสามารถแสดงฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อภาวะโรคต่างๆ ได้ ซึ่งมีหลายการศึกษาพบว่าข่อยมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย อาทิเช่น ฤทธิ์ต่อหัวใจ ฤทธิ์ต้านจุลชีพ ฤทธิ์ต้านโปรโตซัว ฤทธิ์ป้องกันตับ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านเบาหวาน ฤทธิ์ต้านความจำบกพร่อง และฤทธิ์ต้านพาร์กินสัน เป็นต้น ดังนั้น ข่อยจึงเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่น่าสนใจในการศึกษาประโยชน์และอาจพัฒนาต่อไปเพื่อใช้ในการป้องกันหรือรักษาภาวะโรคต่างๆ ในปัจจุบัน บทความนี้จึงเป็นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พฤกษเคมี ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และความเป็นพิษของข่อย เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ
ข่อย, ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา, พืชสมุนไพร, Streblus asper, Pharmacological activity, Natural product