บทความวิชาการ
ยาแผ่นแปะ Rotigotine
ชื่อบทความ ยาแผ่นแปะ Rotigotine
ผู้เขียนบทความ อ.ภญ.สิรนันท์ กลั่นบุศย์, ภญ.ศุภมาศ วาณิชย์ศรีภิญโญ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รหัสกิจกรรม 1008-1-000-001-01-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ม.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 31 ธ.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Rotigotine ชนิดแผ่นแปะ เป็นยาในกลุ่ม non-ergot dopamine agonists ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาในการรักษาโรคพาร์กินสันระยะแรก (early-stage), โรคพาร์กินสันระยะท้าย (advanced-stage) และอาการขาอยู่ไม่สุข (restless legs syndrome) ในระยะปานกลางและระยะรุนแรง แต่ผลต่ออาการทางจิตประสาทในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นอาการนอกเหนือจากการเคลื่อนไหวนั้นยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง จากการศึกษา RECOVER ในปี ค.ศ. 2011 พบว่ายาแผ่นแปะ rotigotine ทำให้อาการด้านอารมณ์ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันดีขึ้นเมื่อเทียบกับ placebo จึงทำให้มีการศึกษาอื่น ๆ ในด้านประสิทธิภาพของ rotigotine ต่ออาการด้านการเคลื่อนไหว (motor symptoms) และอาการนอกเหนือจากการเคลื่อนไหว (non-motor symptoms) ตามมาหลายการศึกษา จากผลการศึกษาต่าง ๆ พบว่ายาแผ่นแปะ rotigotine มีประสิทธิภาพในการทำให้ motor symptoms และการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรค พาร์กินสันดีขึ้น แต่สำหรับผลต่ออาการด้านอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นอาการ non-motor symptoms คือ อาการขาดความสนใจ (apathy) และภาวะซึมเศร้า (depression) พบว่าผลการศึกษาแต่ละการศึกษานั้นมีความแตกต่าง จึงควรติดตามถึงผลการศึกษาประสิทธิภาพของยาแผ่นแปะ rotigotine ต่ออาการดังกล่าวเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ
Rotigotine ชนิดแผ่นแปะ (Rotigotine transdermal patch), โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease), อาการที่