บทความวิชาการ
ระบบปรับอากาศ HVAC ที่ใช้กับห้องสะอาดสำหรับการผลิตยาในเชิงการตรวจสอบการออกแบบที่ดี: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้
ชื่อบทความ ระบบปรับอากาศ HVAC ที่ใช้กับห้องสะอาดสำหรับการผลิตยาในเชิงการตรวจสอบการออกแบบที่ดี: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้
ผู้เขียนบทความ ภก. ธานี นันทศิรนาท และภก.นิติ สันแสนดี
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-1-000-004-11-2560
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 27 พ.ย. 2560
วันที่หมดอายุ 26 พ.ย. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
กระทรวงสาธารณสุข ได้กําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบัน และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนโบราณ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ.2559 ซึ่งภาคผนวก 14 การตรวจรับรองและการตรวจสอบความถูกต้อง ได้เขียนกำกับอย่างชัดเจนว่า “กิจกรรมการตรวจรับรองต้องพิจารณาในทุกขั้นตอนโดยเริ่มจากการออกข้อกำหนดความต้องการของผู้ใช้ไปจนสิ้นสุดของการใช้งานระบบสนับสนุนการผลิต” หากโรงงานเภสัชกรรมกำลังมีการว่าจ้างวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเข้ามาติดตั้งงานระบบ HVAC เพื่อเปิดบริเวณการผลิตใหม่ ซึ่งเภสัชกรทุกท่านทราบดีว่าระบบ HVAC เป็นระบบสนับสนุนการผลิตเภสัชภัณฑ์ที่สำคัญมากระบบหนึ่ง สิ่งที่เภสัชกรจำเป็นต้องทำ คือ การตกลงข้อกำหนดหรือที่เรียกว่า User Requirement Specification (URS) ของผู้ใช้งาน โดยอิงกับผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการก่อนที่เภสัชกรจะกำหนดข้อกำหนดได้อย่างชัดเจน และประสานงานกับวิศวกรที่เข้ามาติดตั้งงานระบบ HVAC ได้อย่างราบรื่นนั้น เภสัชกรจำเป็นต้องใช้ความเข้าใจจากพื้นฐานวิทยาศาสตร์เชิงฟิสิกส์ในการทำความเข้าใจว่า ข้อกำหนดใดบ้างที่เภสัชกรควรเป็นผู้ตั้งโจทย์ หรือประสานงานให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องระหว่างวิศวกรในการออกแบบงานระบบเพื่อให้ตรงวัตถุประสงค์ของเภสัชกรมากที่สุด ด้วยเหตุที่ว่าข้อกำหนดนั้นจะมีผลกระทบต่อหลักการการออกแบบงานระบบ HVAC อันได้แก่ อุณหภูมิ ร้อยละความชื้นสัมพัทธ์ ความดัน รวมทั้ง ความสัมพันธ์ของปริมาณลมจ่าย (Supply air) และปริมาณลมดูดกลับ (Return sir) ปริมาณลมดูดทิ้ง (Exhaust air) และปริมาณลมเติมจากภายนอก (Outside air) รวมทั้งปริมาณโหลดความร้อนที่อาจเกิดจากเครื่องจักรการผลิต และครอบคลุมถึงความร้อนที่เกิดจาก แสงสว่าง ผนัง และบุคลากรที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เภสัชกรต้องเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเพื่อให้วิศวกรสามารถออกแบบงานระบบ HVAC ได้ตามที่เภสัชกรต้องการ ซึ่งหากทุกฝ่ายสามารถตกลงกันได้ และเห็นพร้อมในทางเดียวกันก่อนที่จะเริ่มติดตั้งงาน จะสามารถลดต้นทุนทางแรงงาน สิ่งของ และเวลาระหว่างโรงงานที่ลงทุนและวิศวกรที่ทำการออกแบบระบบได้ ซึ่งเวลาถือว่าเป็นต้นทุนทางเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ
คำสำคัญ
HVAC System, User Requirement Specification, Room Sensible Heat (RSH), Room Latent Heat (RLH)