บทความวิชาการ
การบริบาลทางเภสัชกรรมในโรคผิวหนังอักเสบ
ชื่อบทความ การบริบาลทางเภสัชกรรมในโรคผิวหนังอักเสบ
ผู้เขียนบทความ ดร.ภญ. นทพร ชัยพิชิต
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสกิจกรรม 1011-1-000-004-12-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 09 ธ.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 08 ธ.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคผิวหนังอักเสบเป็นภาวะความผิดปกติของระบบผิวหนังที่พบได้บ่อยในทางเวชปฏิบัติ พยาธิกำเนิดของโรคเกี่ยวข้องกับการสูญเสียการทำงานด้านการปกป้องของผิวหนังชั้นนอกร่วมกับกระบวนการอักเสบที่เกิดบริเวณผิวหนังชั้นนอกและผิวหนังชั้นใน โดยพบว่าโรคผิวหนังบางโรคมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านพันธุกรรม และอาจมีปัจจัยภายนอกส่งเสริมให้เกิดโรค เช่น การสัมผัสสารที่ทำให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง การติดเชื้อรา ประสิทธิภาพในรักษาโรคผิวหนังอักเสบขึ้นอยู่กับการประเมินระยะการดำเนินโรคของผื่นซึ่งมีความสำคัญต่อการเลือกวิธีการดูแลรักษาโรคอย่างเหมาะสม โดยผื่นระยะเฉียบพลันมีรอยโรคเบื้องต้นเป็นผื่นแดง ร่วมกับตุ่มน้ำอาจมีน้ำเหลืองเยิ้ม และมีอาการคันมาก ตามแนวทางการรักษาแนะนำให้ใช้ยารับประทานกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมกับการทำแผลแบบเปียกเพื่อลดการอักเสบและบรรเทาอาการคัน ผื่นระยะกึ่งเฉียบพลันที่เริ่มแห้ง มักมีขุยละเอียดและอาจพบลักษณะผื่นระยะเฉียบพลันร่วมด้วยนั้น อาจพิจารณาให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกที่มีความแรงและรูปแบบผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับผิวหนังบริเวณรอยโรคเพื่อควบคุมอาการของโรค ส่วนการรักษาผื่นระยะเรื้อรังที่มักพบผิวหนังเป็นปื้นหนา แห้ง มีรอยริ้วผิวหนังที่ชัดเจน และมีอาการคันระดับปานกลางถึงมากควรให้การรักษาด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกร่วมกับการทำแผลชนิดปกปิดเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอยโรคและทำให้การดูดซึมยาดีขึ้น ยาอื่นที่ใช้ในการรักษาโรคผิวหนังอักเสบ ได้แก่ ยากลุ่มยับยั้งแคลซินูรินที่ลดการอักเสบโดยลดการเหนี่ยวนำทีลิมโฟไซต์ ยายับยั้งตัวรับฮีสตามีนชนิดที่ 1 และยาปฏิชีวนะสำหรับรักษาการติดเชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส นอกจากนี้ควรแนะนำให้ผู้ป่วยอาบน้ำอุ่นในระยะเวลาไม่เกิน 10 นาที และใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณผิวหนังเพื่อป้องกันอาการผิวแห้งซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการกำเริบของโรคได้ Eczema or dermatitis, dermatologic disorders, which are commonly presented in clinical practices. Pathophysiology involved in eczema is associated with the dermatologic barrier dysfunction and inflammatory process occurred in epidermis and dermis. Some of these conditions are also related to genetic predisposition and external predisposing factors including contacts of allergens or irritants and fungal infection. Efficient eczema treatment depends on evaluation of disease progression, of which plays in an important role in selecting appropriate treatment. Acute eczematous inflammation reveals primary lesions as eczematous rash with vesicles and intense pruritus. Treatment guidelines suggested that systemic corticosteroids with wet dressing for the reduction of inflammation and pruritus should be considered. Subacute eczematous inflammation is commonly presented with skin dryness, fine scales, and sometimes with acute eczematous lesions. Treatment should consider topical corticosteroids with moderate to high potency and suitable formulation for skin lesions to control disease progression. Treatment of chronic eczematous inflammation, presented in thicken skin, xerosis with lichenification and moderate to severe pruritus, should include topical corticosteroids with occlusive dressing for improving skin hydration and drug absorption. Alternative drugs, reported for eczema treatment, are calcineurin inhibitors that reduce T-lymphocyte activation, H1-receptor antagonists, and antibiotics for Staphylococcus aureus infection if symptoms and signs of bacterial infection observed. In addition, patients should be advised to take warmth bathing, not exceed 10 minutes, and use moisturizers to prevent skin dryness which could cause a flare-up of eczema.
คำสำคัญ
โรคผิวหนังอักเสบ การรักษา คอร์ติโคสเตียรอยด์ การทำแผลชนิดเปียก การทำแผลชนิดปกปิด ,Eczema, Dermatitis