บทความวิชาการ
Hemovigilance
ชื่อบทความ Hemovigilance
ผู้เขียนบทความ ภก.นรินทร์ กิจเกรียงไกรกุล และ นศภ.จารุเมธ เชิงสุวรรณวงศ์
สถาบันหลัก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5001-1-000-003-12-2560
ผู้ผลิตบทความ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 22 ธ.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 21 ธ.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการทำ hemovigilance ยังมีข้อจำกัดหลายด้าน ประเด็นหลักคือการที่บุคลากรในองค์กรไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับ hemovigilance ไม่เข้าใจถึงความสำคัญจึงทำให้มีความร่วมมือในการทำ hemovigilance น้อย ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ระบบของ hemovigilance สัมฤทธิ์ผลได้จะต้องเริ่มจากการกำหนดนโยบายในทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติไปจนถึงระดับสถาบัน ต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับในองค์กรเพื่อสร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในห่วงโซ่ของการบริการโลหิต โดยต้องทำให้ทุกฝ่ายเห็นประโยชน์ของการทำ hemovigilance ว่าสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและทำให้เกิดความปลอดภัยในการให้บริการโลหิต ซึ่งจะทำให้เกิดความเต็มใจในการนำระบบ hemovigilance ไปใช้อย่างครอบคลุม ส่งผลให้มีข้อมูลที่มากพอที่จะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงปัญหา นำมาตั้งเป็นโจทย์เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขป้องกัน รวมทั้งสามารถนำมาพัฒนางานบริการโลหิตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้งานบริการโลหิตในภาพรวมของทั้งประเทศมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้ไม่ได้กล่าวครอบคลุมถึงรายละเอียดของสาเหตุ กลไก พยาธิสภาพ และการรักษาภาวะแทรกซ้อนแต่ละชนิด ซึ่งผู้อ่านสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากตำราเวชศาสตร์บริการโลหิต (Transfusion Medicine) และคู่มือแนวทางการเฝ้าระวังความปลอดภัยของโลหิต (Guideline on Hemovigilance) ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในหัวข้อต่าง ๆ มากขึ้น
คำสำคัญ