บทความวิชาการ
การผลิตและการควบคุมคุณภาพยากัมมันตรังสี
ชื่อบทความ การผลิตและการควบคุมคุณภาพยากัมมันตรังสี
ผู้เขียนบทความ ดร.ภญ. วันวิสาข์ คุณะวัฒนกุล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รหัสกิจกรรม 1009-1-000-004-12-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 22 ธ.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 21 ธ.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ยากัมมันตรังสีประกอบด้วยส่วนของนิวไคลด์กัมมันตรังสีและตัวพารังสี ซึ่งยากัมมันตรังสีที่ใช้ในทางการแพทย์สามารถใช้ได้ทั้งในด้านการรักษาและการวินิจฉัยโรค นิวไคลด์กัมมันตรังสีสามารถปลดปล่อยอนุภาคอัลฟ่า อนุภาคเบต้า อนุภาคโพซิตรอน และรังสีแกมม่า ในการตรวจวินิจฉัยนิยมใช้นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ปลดปล่อยรังสีแกมม่า และอนุภาคโพซิตรอน ส่วนในการรักษานิยมใช้นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ปลดปล่อยอนุภาคเบต้า ส่วนนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ปลดปล่อยอนุภาคอัลฟ่ามีการนำมาใช้ในการรักษาแต่ยังมีข้อจำกัดในการใช้อยู่ การเตรียมตำรับยากัมมันตรังสีทำได้โดยการนำนิวไคลด์กัมมันตรังสีมาติดฉลากลงบนตัวพารังสี ซึ่งทำได้หลายวิธี ได้แก่ Isotope exchange reaction, Introduction of a foreign label, การติดฉลากด้วย bifunctional chelating agent, Biosynthesis, Recoil labeling และ Excitation labeling ผู้เตรียมตำรับควรได้รับการฝึกอบรมและต้องใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการเตรียมเพื่อป้องกันอันตรายจากนิวไคลด์กัมมันตรังสีในระหว่างกระบวนการผลิต เนื่องจากตำรับยากัมมันตรังสีส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบยาฉีด จึงต้องเตรียมให้ปราศจากเชื้อ ปราศจากสารที่ก่อให้เกิดไข้ และมีการควบคุมคุณภาพทางกายภาพ เช่น ลักษณะภายนอก, ขนาดอนุภาค, pH, tonicity, ความบริสุทธิ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรมีการศึกษาด้านความเป็นพิษเพื่อให้มีความปลอดภัยเมื่อมีการนำมาใช้ในมนุษย์
คำสำคัญ
ยากัมมันตรังสี นิวไคลด์กัมมันตรังสี