บทความวิชาการ
ภาวะเออร์โกติสซึมจากยาเออร์โกตามีน
ชื่อบทความ ภาวะเออร์โกติสซึมจากยาเออร์โกตามีน
ผู้เขียนบทความ กิติยศ ยศสมบัติ*†, สิรินุช พละภิญโญ*, ชัชนินทร์ อัจลานนท์** * คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย **โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
สถาบันหลัก กองบริหารการสาธารณสุข
รหัสกิจกรรม 3003-1-000-004-12-2560
ผู้ผลิตบทความ กองบริหารการสาธารณสุข
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 25 ธ.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 24 ธ.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Ergotism คือภาวะความเป็นพิษที่เกิดจากการได้รับสารกลุ่ม ergot alkaloid ในขนาดสูงหรืออย่างต่อเนื่องซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปหลายชื่อ เช่น ergotoxicosis, ergot poisoning, Holy Fire หรือ Saint Anthony’s Fire (1) แม้ว่าภาวะนี้จะมีอุบัติการณ์ค่อนข้างต่ำคือพบได้ร้อยละ 0.001-0.002 ของผู้ป่วยที่ใช้ ergotamine สำหรับรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนแบบเฉียบพลัน และ รักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด (2) แต่มีอันตรายต่อผู้ป่วยอย่างมากเนื่องจากส่งผลให้เกิดภาวะทุพพลภาพหรือมีอันตรายถึงแก่ชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาแก้ไขที่มีประสิทธิภาพอย่างทันท่วงที ปัจจุบันยังพบการใช้ ergotamine อย่างแพร่หลายในเวชปฏิบัติทั่วไป และมีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่สามารถเข้าถึงยาต้านจุลชีพกลุ่ม macrolide และ ยาต้านไวรัสกลุ่ม HIV protease inhibitor ซึ่งมีอันตรกิริยากับ ergotamine ได้มากขึ้น โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ergotamine-induced ergotism ในผู้ป่วยไทยจึงยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ (3-5) บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับยา ergotamine ภาวะ ergotism แนวทางการรักษา และ ตัวอย่างมาตรการที่อาจช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิด ergotamine-induced ergotism
คำสำคัญ