บทความวิชาการ
หลักทั่วไปของการขอมีใบอนุญาต (สถานที่) ด้านยา วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 และยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 3
ชื่อบทความ หลักทั่วไปของการขอมีใบอนุญาต (สถานที่) ด้านยา วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 และยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 3
ผู้เขียนบทความ เภสัชกร ทรงศักดิ์ วิมลกิตติพงศ์
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2006-1-000-001-03-2561
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 08 มี.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 07 มี.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
“ยา” จะถูกควบคุม กำกับโดยพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว “ยา” บางประเภทยังถูกจัดเป็น “วัตถุออกฤทธิ์” ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 และ “ยาเสพติดฯ” ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เป็นกฎหมายเฉพาะที่จะต้องดำเนินการโดยเคร่งครัด กฎหมายจึงกำหนดให้การดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ “ยา” ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้า การผลิต การขาย จะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายเสียก่อน รวมถึงข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้องและต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัดหลังจากที่ได้รับอนุญาตไปแล้ว ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษทางแพ่งหรือทางอาญา “ผู้รับอนุญาต” และ “ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ” จึงมีความรับผิดชอบในการทำ \\\\\\\"หน้าที่ \\\\\\\" ให้ถูกต้อง เช่น การจัดทำบัญชีซื้อยา บัญชีขายยา ตลอดถึงรายงานต่างๆตามระยะเวลาที่กำหนด การควบคุมการขายยาให้เป็นไปในช่องทางการจำหน่ายที่เหมาะสมตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้
คำสำคัญ
.ใบอนุญาตสถานที่ , ยา, วัตถุออกฤทธิ์, ยาเสพติดประเภท 3, หน้าที่เภสัชกร