บทความวิชาการ
Influenza in 2018: What will be changed?
ชื่อบทความ Influenza in 2018: What will be changed?
ผู้เขียนบทความ รศ.ดร.ภก.ปรีชา มนทกานติกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สถาบันหลัก ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
รหัสกิจกรรม 0001-1-000-006-05-2561
ผู้ผลิตบทความ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 01 พ.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 30 เม.ย. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส influenza ซึ่งพบเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 65 ปี) เด็กอายุ 6 เดือน- 2 ปี หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัม/ตารางเมตร) เป็นต้น เชื้อไวรัสนี้จะระบาดตามฤดูกาล โดยในประเทศไทยพบอุบัติการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2 ช่วง คือ เดือนมกราคม-เดือนมีนาคม และเดือนกันยายน-เดือนตุลาคมของทุกปี โดยจะพบอุบัติการณ์ในช่วงเดือนกันยายน-เดือนตุลาคมมากกว่า ซึ่งตรงกับช่วงการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในประเทศแถบซีกโลกใต้ ในแต่ละปี องค์การอนามัยโลกจะแนะนำสายพันธุ์ของไวรัสเพื่อนำไปผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ในปีถัดไป โดยจะแนะนำปีละ 2 ช่วง คือ เดือนกุมภาพันธ์ และเดือนกันยายนของทุกปี โดยคำแนะนำในเดือนกุมภาพันธ์จะใช้ในการผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ในประเทศแถบซีกโลกเหนือ ซึ่งมักมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี สำหรับคำแนะนำในเดือนกันยายนจะใช้ในการผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ในประเทศแถบซีกโลกใต้ ซึ่งมักมีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วงเดือนกันยายน – เดือนตุลาคมของทุกปี1 ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขจะฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่โดยไม่คิดมูลค่าให้แก่ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตได้สูง ในช่วงเดือนมิถุนายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สำหรับประเทศในแถบซีกโลกใต้ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโรคในเดือนกันยายนของทุกปี
คำสำคัญ