บทความวิชาการ
การเลือกใช้เวชสำอางสำหรับภาวะผิวแห้งคันในผู้สูงอายุ
ชื่อบทความ การเลือกใช้เวชสำอางสำหรับภาวะผิวแห้งคันในผู้สูงอายุ
ผู้เขียนบทความ ภก.กิติยศ ยศสมบัติ
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-1-000-007-07-2561
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 03 ก.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 02 ก.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
วิทยาการด้านเวชสำอางมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัยนอกจากนั้นยังส่งเสริมให้การรักษาปัญหาผิวหนังประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงจากยาลดลงจึงมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ภาวะผิวแห้งคันในผู้สูงอายุเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติซึ่งแม้จะมีอันตรายน้อยแต่มักพบอาการคันนำไปสู่การเกาและการติดเชื้อแทรกซ้อน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความเข้าใจและพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่มีข้อบ่งใช้ การใช้ยาต้านฮิสทามีนซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ หรือ การใช้ยาทาสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดังนั้นการรักษาภาวะผิวแห้งคันในผู้สูงอายุจึงควรมีเป้าหมายหลักเพื่อควบคุมปัจจัยส่งเสริมการเกิดโรค การรักษาความชุ่มชื้นและฟื้นฟูสุขภาพของผิวหนัง และ การรักษาอาการและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่พบร่วมด้วย โดยคุณสมบัติของเวชสำอางที่ดีควรประกอบด้วย 1) ลดการสูญเสียน้ำของชั้นผิวหนัง (trans-epidermal water loss: TEWL) 2) ปรับสภาพของชั้นผิวหนังให้กลับมามีสุขภาพดีขึ้น 3) มีส่วนประกอบที่ลดอาการคันหรือการอักเสบของผิวหนัง และ 4) รักษาสมดุลจุลินทรีย์ของผิวหนัง ซึ่งเภสัชกรสามารถประเมินคุณสมบัติเหล่านี้ได้จากการพิจารณาส่วนประกอบของตำรับและให้คำแนะนำเพื่อเลือกใช้เวชสำอางสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะผิวแห้งคันได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
ผิวแห้ง เวชสำอาง ผู้สูงอายุ