บทความวิชาการ
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
ชื่อบทความ การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
ผู้เขียนบทความ อ.ดร.ภญ.พิมพิกา กาญจนดำเกิง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-007-07-2561
ผู้ผลิตบทความ คลังข้อมูลยา
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 02 ส.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 01 ส.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
จุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ (intestinal microflora) มีความสำคัญต่อสุขภาพของมนุษย์ ทั้งระบบทางเดินอาหารและนอกระบบทางเดินอาหาร จึงมีการใช้จุลินทรีย์มีชีวิตหรือจุลินทรีย์โพรไบโอติก (probiotic) อย่างแพร่หลายเพื่อรักษาความผิดปกติ ที่เกิดจากการรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ โดยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่หนักแน่นได้แก่ โรคท้องเสียหรืออุจจาระร่วงในผู้ท่องเที่ยวเดินทาง (traveler’s diarrhea), ท้องเสียจากการติดเชื้อ (infectious diarrhea), อุจจาระร่วงจากยาปฏิชีวนะ (antibiotic-associated diarrhea, AAD) รวมทั้งอาการท้องเสียจากการติดเชื้อ Clostridium difficile, กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome, IBS), ลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease, IBD) ส่วนโรคนอกระบบทางเดินอาหารที่มีรายงานการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือ atopic dermatitis ในเด็กทารก เป็นต้น กลไกของจุลินทรีย์โพรไบโอติกนั้นมีหลายระดับได้แก่ ระดับทั่วไป (widespread) ระดับชนิดของเชื้อ (species) และระดับสายพันธุ์ (strain) โดยกลไกขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การเพิ่มจำนวนเชื้อประจำถิ่น (colonization) การเกิดภาวะกีดกันแก่งแย่งกับเชื้อก่อโรค (competitive exclusion of pathogens) การสร้างกรดไขมันสายสั้น (production of short chain fatty acids) และที่สำคัญคือการปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ (normalization of perturbed microbiota) เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจึงควรเลือกใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ที่เหมาะสมต่อความต้องการ อีกทั้งยังควรคำนึงถึงประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในผู้ป่วยบางประเภท สำหรับจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีการศึกษารองรับมากที่สุด ได้แก่ Saccharomyces boulardii และ Lactobacillus rhamnosus GG (LGG)
คำสำคัญ
Probiotic, กลไกการออกฤทธิ์, ข้อบ่งใช้ทางคลินิก, ระบบทางเดินอาหาร, ผลต่อสุขภาพ
วิธีสมัครสมาชิก


เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านบทความแล้วทำแบบทดสอบ Online ได้ที่
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/cpe