บทความวิชาการ
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด (Asthma)
ชื่อบทความ แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด (Asthma)
ผู้เขียนบทความ ธีรพล ทิพย์พยอม, ภ.บ., Ph.D.
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รหัสกิจกรรม 1007-1-000-001-08-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 27 ส.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 26 ส.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคหืด (asthma) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติอันเนื่องมาจากการอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ โดยอาการของโรคอาจหายได้เองหรือจำเป็นต้องได้รับยา อย่างไรก็ตาม โรคหืดสามารถทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้หากผู้ป่วยได้รับการดูแลหรือการรักษาที่ไม่เหมาะสม แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือแนวทางของ the Global Initiative for Asthma (GINA) โดยแนวทางล่าสุดในปี พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) ได้กำหนดหลักการทั่วไปในการรักษาโรคหืดตามการควบคุมได้ของโรค (control-based management) โดยให้มีการปรับเปลี่ยนการรักษาเป็นรอบวงจร ได้แก่ ประเมิน (assess) รักษา (treatment) และทบทวน (review) ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินและติดตามอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้มีการปรับแผนการรักษาที่เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคหืดทุกคนจำเป็นต้องได้รับยาบรรเทาอาการสำหรับใช้เมื่อเกิดอาการ ส่วนผู้ป่วยบางรายที่ควบคุมอาการไม่ได้ก็จำเป็นต้องได้รับยาควบคุมอาการอย่างต่อเนื่องเพื่อลดการอักเสบของทางเดินหายใจ ลดความเสี่ยงของการกำเริบและการเสื่อมสมรรถภาพของปอด หลักในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดสำหรับเภสัชกรคือ ประเมินผู้ป่วยทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังมีการปรับเปลี่ยนขนาดยาที่ใช้ควบคุมอาการ ในกรณีที่ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการได้แล้วให้ติดตามดูว่าผู้ป่วยได้รับการปรับขนาดยาลงหรือไม่ ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยยังคงควบคุมอาการไม่ได้เภสัชกรควรประเมินและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องได้แก่ ความถูกต้องของเทคนิคการใช้ยาสูดพ่น ความร่วมมือในการใช้ยา และการได้รับปัจจัยกระตุ้นให้จับหืดที่บ้านหรือที่ทำงาน เพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนที่จะพิจารณาปรับเพิ่มขนาดยา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
คำสำคัญ
asthma