บทความวิชาการ
บทบาทของตัวรับเอสโตรเจน (Estrogen receptors) และการเกิดโรค
ชื่อบทความ บทบาทของตัวรับเอสโตรเจน (Estrogen receptors) และการเกิดโรค
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร. กิจจา สว่างเจริญ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สถาบันหลัก สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รหัสกิจกรรม 1016-1-000-004-08-2561
ผู้ผลิตบทความ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 31 ส.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 30 ส.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
เอสโตรเจนส์เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมขบวนการทางสรีระวิทยาที่ซับซ้อนในร่างกายมนุษย์หลายประการ เอสโตรเจนส์ออกฤทธิ์โดยการจับกับตัวรับที่เฉพาะเจาะจง ตัวรับของเอสโตรเจนส์นั้นเป็น transcription factors ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมขบวนการต่าง ๆ ภายในเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ทางสรีระวิทยาของเอสโตรเจนส์ ตัวรับของเอสโตรเจนส์มีอยู่อย่างน้อย 2 ชนิดย่อย (subtypes) ที่เรียกว่า ERα และ ERβ และยังมี splice variants ของชนิดย่อยทั้งสองอีกหลายชนิด การทำงานที่ผิดปกติของเอสโตรเจนส์หรือตัวรับทั้ง 2 ชนิดอาจนำไปสู่การพัฒนาของโรคหลายชนิดได้แก่ โรคมะเร็ง โรคที่เกี่ยวกับเมตาบอลิสม โรคในระบบไหลเวียนเลือด โรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาท การอักเสบ และโรคกระดูกพรุน เป็นต้น ในปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยบทบาทของทั้ง ERα และ ERβ ที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ ดังกล่าวซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความเข้าใจที่เกี่ยวกับพยาธิกำเนิดของโรคดังกล่าวแล้วยังจะเป็นแนวทางในการพัฒนาวิธีการรักษาหรือพัฒนายาใหม่เพื่อรักษาโรคดังกล่าวให้เหมาะสมกับโรคหรือผู้ป่วยแต่ละรายต่อไป
คำสำคัญ
Estrogen, Sex hormone, Estrogen receptor