บทความวิชาการ
แนวทางการลดการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านยาจากใช้ยาหลายรายการในผู้สูงอายุ
ชื่อบทความ แนวทางการลดการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านยาจากใช้ยาหลายรายการในผู้สูงอายุ
ผู้เขียนบทความ ภก.อ.สุธาร จันทะวงศ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สถาบันหลัก กองบริหารการสาธารณสุข
รหัสกิจกรรม 3003-1-000-002-09-2561
ผู้ผลิตบทความ กองบริหารการสาธารณสุข
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ก.ย. 2561
วันที่หมดอายุ 31 ส.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย1 ในผู้สูงอายุมีความเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่วมกับมักมีโรคร่วมที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การรักษาด้วยยาร่วมกันหลายรายการ มีการศึกษาในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้สูงอายุที่ได้รับการรักษากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases: NCDs) ด้วยยาตั้งแต่ 5 รายการขึ้นไป ร้อยละ 36.8 และ 39.0 ตามลำดับ2-3 ซึ่งผู้สูงอายุจำนวนสามในสี่มีอัตราการใช้ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ (ได้แก่ over-the-counter [OTC], ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นต้น) สูงถึงร้อยละ 723 ซึ่งในระยะหลังมีอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูงกว่ายา OTC4 ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีแนวโน้มที่จะพบการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (adverse drug reactions: ADRs) เมื่อเทียบกับผู้ป่วยในกลุ่มอายุที่น้อยกว่า5 เป็นที่น่าสนใจว่าในการเข้ารับการรักษาแบบเร่งด่วน ณ แผนกฉุกเฉิน จากผู้สูงอายุ 30 ราย จะมีอย่างน้อย 1 รายที่เข้ารับการรักษาจากการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา6 บุคลากรทางการแพทย์จึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินข้อบ่งใช้ (indications), แบบแผนการให้ยาที่เหมาะสม (dosage regimen) รวมถึงการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา (drug interactions) ทุกครั้งที่พิจารณาให้การรักษาด้วยยาในผู้สูงอายุ ในบทความนี้ผู้นิพนธ์จะครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ยาร่วมกันหลายรายการ, prescribing cascade, รายการยาที่มักมีการสั่งใช้ในผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านยาและคำแนะนำทั่วไปในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในกลุ่มผู้สูงอายุ
คำสำคัญ