บทความวิชาการ
การออกแบบและพัฒนารูปแบบเภสัชภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ
ชื่อบทความ การออกแบบและพัฒนารูปแบบเภสัชภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ
ผู้เขียนบทความ ภก.ผศ.ดร.กัมปนาท หวลบุตตา และภญ.ดร.ธนิกานต์ แสงนิ่ม
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-1-000-003-10-2561
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ต.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 30 ก.ย. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
รูปแบบเภสัชภัณฑ์ (Dosage form) คือรูปแบบทางกายภาพของสารประกอบทางเคมีที่นำมาใช้เป็นยา สารเคมีแต่ละกลุ่มที่นำมาใช้เป็นยานั้นมีการออกฤทธิ์และส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกัน จึงต้องมีการคิดค้นรูปแบบเภสัชภัณฑ์เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ตรงกับบริเวณเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความถูกต้องตามเภสัชตำรับ ปัจจัยที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการรักษาคือการคำนึงถึงผู้ป่วยซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งด้าน อายุ เพศ เชื้อชาติ และพฤติกรรมการใช้ชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวคิดการรักษาในรูปแบบ personalizeก medicine ซึ่งจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา เพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา และลดผลข้างเคียงของยาได้ ในปัจจุบันเริ่มมีรูปแบบเภสัชภัณฑ์สำหรับผู้ป่วยหลายกลุ่ม รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุด้วย โจทย์ในการแก้ปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุมีหลากหลายด้าน บทความนี้จะสรุปสภาวะที่เปลี่ยนไปที่ส่งผลต่อการใช้ยาของผู้สูงอายุ ยกตัวอย่างรูปแบบและวิธีการเตรียมเภสัชภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการเก็บยาสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบเภสัชภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุต่อไป
คำสำคัญ
เภสัชภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ, Orally Disintegrating Formulation, บรรจุภัณฑ์สำหรับยาในผู้สูงอายุ