บทความวิชาการ
การวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ตามข้อกำหนดของ USP 41
ชื่อบทความ การวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ตามข้อกำหนดของ USP 41
ผู้เขียนบทความ ภญ.ปวีณา กำเหนิดนนท์, ภญ.วิภาพรรณ ไสยสมบัติ
สถาบันหลัก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
รหัสกิจกรรม 3002-1-000-004-12-2561
ผู้ผลิตบทความ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 17 ธ.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 16 ธ.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) คือ ค่าที่แสดงถึงความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน (H+) หรือไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ใช้บอกความเป็นกรด (acidity) หรือด่าง (alkalinity) ของสารละลาย โดยค่า pH ของสารละลายจะเป็นค่าลอการิทึมของไฮโดรเจนไอออน (หรือไฮโดรเนียมไอออน) ที่เป็นลบ สเกลทั้งหมดของค่า pH ของสารละลายจะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 14 โดยใช้แบ่งความเป็นกรด-ด่าง มีงานในห้องปฏิบัติการจำนวนมากที่ต้องอาศัยสารละลายที่ทราบค่าความเป็นกรด-ด่างที่แน่นอน เช่น การแยกสารต่างชนิดออกจากกันโดยใช้ความแตกต่างของค่าพีเอช การตรวจวัดปริมาณเอนไซม์ การเพาะเลี้ยงเชื้อ ฯลฯ การควบคุมคุณภาพยาก็เป็นงานหนึ่งที่ต้องอาศัยสารละลายที่ทราบค่าความเป็นกรด-ด่างในการปฏิบัติงาน ซึ่งค่า pH ที่วัดได้ต้องมีความถูกต้อง จึงต้องอาศัยเครื่องมือในการวัดค่า pH เพื่อให้ผลทดสอบที่ได้มีความน่าเชื่อถือ
คำสำคัญ
calibration, pH, กรด-ด่าง