บทความวิชาการ
โปรแกรมประยุกต์ทางสุขภาพบนสมาร์ทโฟน Mobile Health Applications on Smartphone
ชื่อบทความ โปรแกรมประยุกต์ทางสุขภาพบนสมาร์ทโฟน Mobile Health Applications on Smartphone
ผู้เขียนบทความ วีระโชติ ลาภผลอำไพ, พีรยศ ภมรศิลปธรรม
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-1-000-004-12-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 21 ธ.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 20 ธ.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบเครือข่าย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ การใช้อุปกรณ์พกพา รวมทั้งโทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตและทำงานได้หลากหลาย โปรแกรมประยุกต์บนสมาร์ทโฟน (smartphone application) คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกเขียนขึ้นให้สามารถทำงานได้ในสภาวะแวดล้อมของอุปกรณ์และบริบทของสมาร์ทโฟน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สมาร์ทโฟนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นตัวกลางการติดต่อระหว่างผู้ใช้งานกับสมาร์ทโฟน และเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านสุขภาพ ด้านการเงินและการธนาคาร ด้านการคมนาคม โปรแกรมประยุกต์บนสมาร์ทโฟนที่ใช้งานด้านสุขภาพ มีบทบาทสำคัญในด้านการแพทย์และสาธารณสุข โปรแกรมประยุกต์บนสมาร์ทโฟนได้เข้ามามีบทบาทด้านการวินิจฉัยโรค (disease diagnosis application) ข้อมูลยามาตรฐาน (drug reference application) การคำนวณทางการแพทย์ (medical calculator application) การสืบค้นงานวิจัย (literature search application) การสื่อสารทางคลินิก (clinical communication application) การเชื่อมต่อระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (hospital information system client application) การเรียนรู้ทางการแพทย์ (medical training application) โดยบุคลากรทางการแพทย์ใช้โปรแกรมประยุกต์บนสมาร์ทโฟนช่วยในการบริหารจัดการผู้ป่วยในกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้โปรแกรมประยุกต์บนสมาร์ทโฟนสำหรับผู้ป่วย สามารถใช้เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยเรื่องยา และช่วยผู้ป่วยโรคเรื้อรังในการจัดการกับสภาวะของผู้ป่วยเอง
คำสำคัญ
เทคโนโลยีสารสนเทศ, โปรแกรมประยุกต์บนสมาร์ทโฟน, การแพทย์และสาธารณสุข, โปรแกรมประยุกต์โมบาย