บทความวิชาการ
การใช้ถุงบรรจุโลหิตที่มี Diversion pouch
ชื่อบทความ การใช้ถุงบรรจุโลหิตที่มี Diversion pouch
ผู้เขียนบทความ ดร.ภก.นรินทร์ กิจเกรียงไกรกุล
สถาบันหลัก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5001-1-000-002-12-2561
ผู้ผลิตบทความ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 24 ธ.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 23 ธ.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยที่ได้รับโลหิตโดยทั่วไปจะมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนจากผิวหนังของผู้บริจาคโลหิตทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่อเนื่องตามมา และหากอาการรุนแรงอาจถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ นอกเหนือจากการทำความสะอาดผิวหนังผู้บริจาคโลหิตแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียได้โดยใช้เทคนิคการแยกโลหิตบริจาคประมาณ 30-50 มิลลิลิตรแรกมาไว้ใน sample diversion pouch ที่ประกอบอยู่ในชุดถุงบรรจุโลหิต ซึ่งจะช่วยลดอัตราการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียโดยอาจลดลงได้มากถึงร้อยละ 90 โลหิตส่วนแรกที่เก็บลงใน diversion pouch ยังสามารถแบ่งใส่หลอดสุญญากาศที่เป็นระบบปิดเพื่อนำมาใช้ตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ ซึ่งช่วยลดอัตราการปนเปื้อนของตัวอย่างโลหิตที่เก็บด้วยวิธีดั้งเดิมโดยการใช้กรรไกรตัดสายถุงโลหิตแล้วเก็บตัวอย่างโลหิตใส่หลอดที่เป็นระบบเปิด ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการใช้ถุง diversion pouch จึงน่าจะเป็นต้นทุนที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการรับโลหิตรวมถึงประโยชน์ด้านอื่น ๆ ที่จะได้รับ เช่น ช่วยลดการเกิดผลบวกในการตรวจทางห้องปฏิบัติการของตัวอย่างโลหิตที่ปนเปื้อนเชื้อของผู้บริจาคอื่น (carry-over) ลดระยะเวลาการทำงานของพยาบาลในกระบวนการรับบริจาคโลหิตซึ่งจะทำให้พยาบาลมีเวลาที่จะดูแลผู้บริจาคโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การใช้ถุงบรรจุโลหิตที่มี diversion pouch จึงนับเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งในงานบริการโลหิตที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพและความปลอดภัยของส่วนประกอบโลหิตชนิดต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างสูงสุด
คำสำคัญ
Blood bag, Sample diversion pouch, Bacterial contamination