บทความวิชาการ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ชื่อบทความ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ผู้เขียนบทความ อภิรักษ์ วงศ์รัตนชัย, ภ.บ. (เกียรตินิยม), ภ.บ. (บริบาลเภสัชกรรม), ส.บ., ส.บ. (บริหารสาธารณสุข), ศ.บ., กศ.ม. (การวัดผลการศึกษา)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รหัสกิจกรรม 1007-1-000-004-12-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 28 ธ.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 27 ธ.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
เทคนิคการเลือกตัวอย่าง (sampling technique) มีผลต่อความถูกต้องภายนอก (external validity) เพราะการเลือกตัวอย่างที่ดีหรือตัวแทนที่ดีของประชากร (มีลักษณะเหมือนประชากร) จะทำให้สามารถนำผลการวิจัยหรือสรุปอ้างอิง (generalization) ไปใช้กับประชากรเป้าหมาย และการสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากรได้อย่างถูกต้อง การเลือกกลุ่มตัวอย่างทำได้ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือโดยใช้หลักความน่าจะเป็น (probability sampling) และโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น (non-probability sampling) การเลือกตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น สามารถนำข้อมูลไปอ้างอิงสู่ประชากรเป้าหมายได้ดีกว่าการเลือกตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น เพราะจะได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร
คำสำคัญ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง