บทความวิชาการ
ฤทธิ์สมานแผลของบัวบก (Wound Healing Activity of Centella asiatica (L.) Urb.)
ชื่อบทความ ฤทธิ์สมานแผลของบัวบก (Wound Healing Activity of Centella asiatica (L.) Urb.)
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.ภก. ธนภัทร ทรงศักดิ์
สถาบันหลัก วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
รหัสกิจกรรม 1012-1-000-001-01-2562
ผู้ผลิตบทความ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ม.ค. 2562
วันที่หมดอายุ 31 ธ.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
บัวบกเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้มาเป็นระยะเวลานาน และมีประสิทธิผลดีจนเป็นที่ยอมรับ ซึ่งบัวบกเป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (บัญชียาจากสมุนไพร) มีข้อบ่งใช้เพื่อทาสมานแผล รับประทานแก้ไข้ แก้ร้อนใน และช้ำใน ในบทความนี้เป็นการรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสรรพคุณสมานแผลของบัวบก โดยกล่าวถึงลักษณะทางพฤกษศาสตร์ สารสำคัญ กลไกและประสิทธิผลการสมานแผลทั้งในหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง และการทดลองทางคลินิก ตลอดจนข้อควรระวังในการใช้ จากการทบทวนวรรณกรรมจะเห็นได้ว่า บัวบกเป็นพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิผลในการสมานแผลที่ดี โดยกลไกการสมานแผลที่คล้ายคลึงกันในงานวิจัยหลายเรื่อง คือ การกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการสมานแผล ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าบัวบกจึงเป็นสมุนไพรที่มีประสิทธิผลสูงและสามารถทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบันได้
คำสำคัญ
บัวบก สมานแผล