การประชุมวิชาการ
โครงการการเฝ้าระวังติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่มีการติดตามตรวจวัดระดับยาในเลือดในกลุ่มยาที่มีช่วงการรักษาแคบ
ชื่อการประชุม โครงการการเฝ้าระวังติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่มีการติดตามตรวจวัดระดับยาในเลือดในกลุ่มยาที่มีช่วงการรักษาแคบ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-020-02-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุมหลวงพ่อกัณหา สุขกาโม ชั้น 5 อาคารหลวงพ่อกัณหา สุขกาโม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
วันที่จัดการประชุม 04 -05 ก.พ. 2560
ผู้จัดการประชุม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 40 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ( Adverse Drug Events ; ADEs ) ระบบเดิมเป็นการ
รายงานโดยสมัครใจ ทำให้ได้รับรายงานที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ไม่สามารถเห็นขนาดของปัญหาเพื่อนำไปแก้ไข
ปัญหาได้ตามที่เกิดขึ้นจริง จึงมีความจำเป็นต้องมองหาวิธีการที่ได้ผลกว่าในการค้นหา ซึ่งทางกลุ่มชุมชนเภสัชกร
ผู้ปฏิบัติงานติดตามและประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้แนะนำให้ใช้ตัวส่งสัญญาณ (trigger tool)
เพื่อเพิ่มความสามารถในการค้นหาผู้ป่วยที่เกิด ADEs ขณะผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล จะทำให้สามารถ
ป้องกันหรือลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนได้อย่างทันท่วงที
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมามีบริการติดตามตรวจวัดระดับยาในเลือดในกลุ่มยาที่มีช่วงการรักษาแคบ
ได้แก่ ยา vancomycin , digoxin , carbamazepine , valproic acid , phenobarbital และ phenytoin
ซึ่งเป็นพารามิเตอร์หนึ่งที่ถูกกำหนดให้ใช้เป็นตัวส่งสัญญาณในThai,s Triggers tools for Adverse Drug Events
ดังนั้นกลุ่มงานเภสัชกรรมจึงมีความประสงค์จะนำพารามิเตอร์ระดับยาในเลือด มาใช้ค้นหา ADEs ขณะผู้ป่วย
นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล
เพื่อให้การดำเนินงานการเฝ้าระวังติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ที่มีการติดตามตรวจวัด
ระดับยาในเลือด ในกลุ่มยาที่มีช่วงการรักษาแคบเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด มีความจำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องจะ
ต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นไปในแนวทางเดียวกัน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จึงมี
ความประสงค์จะจัดประชุมวิชาการ การติดตามตรวจวัดระดับยาในเลือด ในกลุ่มยาที่มีช่วงการรักษาแคบขึ้น
เพื่อให้เภสัชกรและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีความรู้และความเข้าใจในการติดตามและแปลผลระดับยาในเลือด
สามารถคำนวณระดับยาที่เหมาะสม และให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังแพทย์ผู้สั่งใช้ยาได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความ
ปลอดภัยในการใช้ยา
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เภสัชกรและบุคลากรผู้เข้าประชุม มีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อนำความรู้ไปดำเนินการ ติดตาม
และแปลผลระดับยาในเลือด และเฝ้าระวังติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่มีการติดตามตรวจ
วัดระดับยาในเลือดในบกลุ่มยาที่มีช่วงการรักษาแคบ โดยใช้ Concurrent trigger tool (Drug Blood level)
คำสำคัญ
การติดตามตรวจ วัดระดับยาในเลือด, กลุ่มยาที่มีช่วงการรักษาแคบ, Concurrent trigger tool (Drug Blood level)