การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมหลักสูตรบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยจิตเวชสำหรับเภสัชกรเครือข่าย
ชื่อการประชุม โครงการอบรมหลักสูตรบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยจิตเวชสำหรับเภสัชกรเครือข่าย
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
รหัสกิจกรรม 1014-2-000-004-02-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุมนายแพทย์วิศักดิ์ สาตรา ชั้น ๒ อาคารสัมมนาคาร โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์
วันที่จัดการประชุม 22 ก.พ. 2560 - 24 มี.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรประจำโรงพยาบาลของรัฐในเขตสุขภาพที่ ๙
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 28.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการปฏิรูปโครงสร้างภายในให้เป็น National Health Authority ดังนั้นกรมสุขภาพจิตในฐานะเป็นกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการระดมความคิดในระดับบริหาร
ในการปรับบทบาทของกรมสุขภาพจิต เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีการกำหนดบทบาทของโรงพยาบาลจิตเวชในสังกัดกรมสุขภาพจิตทั้ง ๑๘ แห่งให้เป็นสถาบันที่มีความเป็นเลิศด้านวิชาการ (excellence center) ตามความเฉพาะทางของตน ทั้งในด้านการจัดบริการเฉพาะทางที่มีความยุ่งยากซับซ้อน พัฒนาองค์ความรู้ และการสร้างต้นแบบการดูแลรักษา (treatment model) บนฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ผ่านกระบวนการวิจัยพัฒนา เพื่อการดูแลรักษา ฟื้นฟู และรับส่งต่อผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีความยุ่งยากซับซ้อน จากหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยบริการสุขภาพอื่นๆ อีกทั้งเป็นศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านสาธารณสุขให้มีความรู้ ความสามารถด้านบริการสุขภาพจิตและจิตเวชขั้นสูง ในการนี้ คณะทำงานจัดทำหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะเภสัชกรด้านคลินิกเติมยาจิตเวชในชุมชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะเภสัชกรที่ปฏิบัติงานบริการเภสัชกรรมในโรงพยาบาลเครือข่าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพในการส่งต่อบริการด้านการรักษาด้วยยาจิตเวชที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความเป็นเลิศในด้านบริการและวิชาการ เพื่อมุ่งไปสู่สถาบันที่มีความเป็นเลิศด้านวิชาการ และสามารถเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานอื่นๆ ในการนำไปปฏิบัติเพื่อพัฒนางานในลักษณะเดียวกันนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเกิดระบบบริการด้านยาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงแก่ผู้ป่วยจิตเวชและประชาชนต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการดูแล รักษาผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน
2. เพื่อให้เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลต่างๆ ในเขตสุขภาพที่ ๙ ที่เข้าร่วมโครงการสามารถ ประเมินปัญหา และให้คำปรึกษาผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิตและผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
คำสำคัญ