การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการอบรมเภสัชกรสำหรับการประเมินการใช้ยาต้านจุลชีพ ครั้งที่ 2 Basic PK/PD in Antimicrobial Use
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการอบรมเภสัชกรสำหรับการประเมินการใช้ยาต้านจุลชีพ ครั้งที่ 2 Basic PK/PD in Antimicrobial Use
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-025-06-2560
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุมสาขาวิชาโรคติดเชื้อภาควิชาอายุรศาสตร์ ตึกอัษฎางค์ชั้น 5
วันที่จัดการประชุม 14 มิ.ย. 2560
ผู้จัดการประชุม ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรประจำหอผู้ป่วย 22 คน เภสัชกรที่อยู่ระหว่างการอบรมหลักสูตรเภสักชประจำบ้าน 3-4 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ยาต้านจุลชีพจึงเป็นยากลุ่มหนึ่งที่ควรส่งเสริมให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เนื่องจากมีปริมาณการใช้สูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การใช้ยากลุ่มนี้อย่างไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดผลลบแก่ผู้ป่วย เช่นเกิดอาการไม่พึงประสงค์ (adverse events) รวมไปถึงเพิ่มอัตราการตาย (mortality rate) เพิ่มระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล (length of stay) และค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดผลเสียแก่ผู้อื่น คือ การใช้ยาต้านจุลชีพที่มากเกินความจำเป็นจะส่งผลต่อปัญหาเชื้อดื้อยาที่เพิ่มสูงขึ้นในโรงพยาบาลได้
การประเมินการใช้ยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial utilization evaluation; AUE) จึงเป็นมาตรการหนึ่งที่นำมาใช้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยคณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติของไทย ได้กำหนดให้ยาต้านจุลชีพบางรายการควรทำการประเมินการใช้ยาโดยพิจารณาจากความเสี่ยงที่จะเกิดใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ความสามารถก่อให้เกิดเชื้อดื้อยาที่รุนแรง อาการไม่พึงประสงค์และยาที่มีราคาแพง
ปัจจุบันโรงพยาบาลศิริราชได้กำหนดให้ยา piperacillin/tazobactam, imipenem/cilastatin, meropenem และ ertapenem เป็นยาที่ต้องทำการประเมินความเหมาะสมในการใช้ยาโดยสาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน สำหรับการสั่งใช้ยาในหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์นั้น ทางเภสัชกรประจำหอผู้ป่วยได้รับมอบหมายให้ทำการประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาต้านจุลชีพดังกล่าวร่วมกับแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ
การประชุมวิชาการในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อ ให้เภสัชกรประจำหอผู้ป่วยและเภสัชกรผู้สนใจ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาวการณ์ติดเชื้อในรพ. หลักการใช้ยาต้านจุลชีพ รวมไปถึงบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรในการประเมินการใช้ยาต้านจุลชีพที่ถูกต้องเหมาะสม และสามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่งจะ ส่งผลดีต่อการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลต่อไป
วัตถุประสงค์
เภสัชกรมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถประเมินความเหมาะสมในการใช้ยาต้านจุลชีพได้อย่างถูกต้อง และสามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับทีมสหสาขาวิชาชีพ
คำสำคัญ
Antimicrobial Use
วิธีสมัครการประชุม
รับสมัครที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช