การประชุมวิชาการ
Pharmaceutical Packaging System
ชื่อการประชุม Pharmaceutical Packaging System
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-2-000-002-03-2560
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 28 มี.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรที่ปฏิบัติงานในระบบจัดการด้านคุณภาพ ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายผลิต ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขึ้นทะเบียนตารับยา และผู้สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
วัสดุการบรรจุที่เลือกใช้สาหรับผลิตภัณฑ์ยา มีความสาคัญต่อความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ยานั้น โดยเฉพาะวัสดุการบรรจุปฐมภูมิ ( primary packaging material ) ที่สัมผัสโดยตรงกับตัวยาสาคัญและส่วนผสมต่างๆ คุณสมบัติของวัสดุการบรรจุปฐมภูมิ ที่ดีต้องสามารถ เก็บรักษา ความคงสภาพของคุณสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของตัวยาสาคัญได้ตลอดอายุของการใช้ นอกจากนี้ยังต้องคานึงถึงความสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปในผลิตภัณฑ์ยาปราศจากเชื้อ (container integrity ) ด้วย
ดังนั้นการได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ยาตัวหนึ่ง ต้องเริ่มเลือกใช้วัสดุการบรรจุที่เหมาะสม ตั้งแต่ขั้นตอนออก แบบการวิจัยพัฒนาพร้อมกับสูตรตารับ เพื่อควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ระดับทดลองผลิตจาก ห้องปฏิบัติการไปจนถึงรุ่นการผลิตจริงให้ได้คุณภาพยาตามข้อกาหนดของผลิตภัณฑ์ตลอดอายุการใช้ โดยคานึงถึงคุณสมบัติของวัสดุการบรรจุปฐมภูมิ ที่สามารถป้องกันอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น ความชื้น แสง ก๊าซ เป็นต้น ที่อาจมีผลให้คุณภาพทางกายภาพเปลี่ยน (เช่น สี/กลิ่น/รสเปลี่ยน) ต้องไม่ทาปฏิกิริยาทางเคมีกับตัวยาสาคัญและส่วนประกอบต่างๆ ของสูตรตารับ ได้แก่ การปลดปล่อยสารเคมีจากวัสดุการบรรจุ (leaching ) หรือดูดซับสารเคมีจากสูตรตารับ (sorption) ต้องสามารถป้องกันการปนเปื้อนของ เชื้อจุลินทรีย์จากภายนอก ( microbial ingression ) เข้าสู่ภายในภาชนะบรรจุ ต้องคานึงถึงเทคโนโลยีหรือขั้นตอนการผลิตที่อาจทาให้ภาชนะบรรจุเสียสภาพ เช่น การใช้ความร้อนระหว่างกระบวนการทาให้ปราศจากเชื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องคานึงถึงรูปแบบของใช้ยาของผู้ป่วย เช่น ใช้แบบครั้งเดียว (single dose container) หรือใช้แบบหลายครั้ง (multiple dose container) คานึงคุณสมบัติของผิววัสดุต่อการพิมพ์ข้อความเพื่อชี้บ่งชื่อยา ขนาดยา วันผลิต วันหมดอายุ คาเตือนตามกฎหมาย เป็นต้น สาหรับวัสดุการบรรจุตั้งแต่ขั้นทุติยภูมิ (secondary packaging material) เป็นต้นไป ควรเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสาหรับการ ทนทาน ต่อการขนส่งเพื่อปกป้องผลิตภัณฑ์ยาตั้งแต่โรงงานผลิตไปยังสถานพยาบาล ร้านยาหรือผู้ใช้ยา จากความสาคัญที่กล่าวมาทั้งหมด บริษัทผู้ผลิตจึงต้องให้ ความสาคัญต่อการเลือกใช้วัสดุการบรรจุที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ยาแต่ละรูปแบบ
วัตถุประสงค์
1. สร้างความตระหนักของบริษัทผู้ผลิตยาให้เห็นถึงความสาคัญของการเลือกใช้วัสดุการบรรจุชนิดต่างๆ อย่างเหมาะสม
2. เข้าใจข้อจากัดด้านคุณสมบัติของวัสดุการบรรจุบางประเภท และสามารถประเมินความเสี่ยงโดยใช้เหตุผลด้านวิทยาศาสตร์ประกอบการตัดสินใจคัดเลือกวัสดุบรรจุประเภทต่างๆ ที่เหมาะสม
3. เพื่อเข้าใจการพิจารณาเกณฑ์หรือข้อกาหนดในการคัดเลือกวัสดุการบรรจุในการขึ้นทะเบียนตารับยา
4. เรียนรู้ประสบการณ์ ปัญหา ข้อเสนอแนะ จากผู้ผลิต ผู้ใช้ยา และผู้พิจารณาการขึ้นทะเบียนตารับยา เรื่องวัสดุการบรรจุ
คำสำคัญ
Pharmaceutical packaging system, วัสดุการบรรจุ, วัสดุการบรรจุปฐมภูมิ, วัสดุการบรรจุตั้งแต่ขั้นทุติยภูมิ, การคัดเลือกวัสดุการบรรจุ, ปฏิกิริยาทางเคมี
วิธีสมัครการประชุม
ค่าลงทะเบียน สมาชิก TIPA คนละ 535 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ไม่ใช่สมาชิก คนละ 1,605 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ ( ประเทศไทย ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ผู้ประสานงาน คุณ สุวรรณี โทร 085-191-0011/02-713-5592