การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เภสัชศาสตร์ศึกษาสำหรับการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ
ชื่อการประชุม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เภสัชศาสตร์ศึกษาสำหรับการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-019-05-2560
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่จัดการประชุม 01 -03 พ.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรแหล่งฝึกปฏิบัติงานของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 16 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
สมรรถนะของบัณฑิตเภสัชศาสตร์ จะต้องมีองค์ความรู้ และทักษะต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เหมาะกับแต่ละสถานการณ์ การฝึกอบรมเรียนรู้ทางเภสัชศาสตร์ในสถานปฏิบัติงานจริง (workplace-based education) ทั้งในโรงพยาบาล ร้านยา โรงงานผลิตยา บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายยา ถือเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นในกระบวนการเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์ เนื่องด้วยความหลากหลายและซับซ้อนของผู้ป่วยแต่ละราย การจัดระบบบริการด้านยาที่ต้องประสานหลายหน่วยงาน เภสัชกรแหล่งฝึกจึงมีความสำคัญในการสอนทักษะต่างๆ และปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีของวิชาชีพ (role model)
อย่างไรก็ตาม จากผลการประเมินโครงการต่างๆ พบว่าเภสัชกรแหล่งฝึกยังมีความแตกต่างกันในหลักการสอนซึ่งต้องมองให้ครบตามไตรยางค์การศึกษาให้สอดคล้องกัน ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ (objective) วิธีการสอน (learning method) และการประเมินผลลัพธ์ในการสอน (evaluation) กอปรกับข้อจำกัดของเวลาที่เภสัชกรแหล่งฝึกจัดการสอน มุมมองในส่วนของการทำงานเป็นทีม ตลอดจนการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ประเด็นเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญที่ส่งผลให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์ได้ฝึกการจัดการองค์ความรู้สู่การปฏิบัติที่เกิดประโยชน์แตกต่างกัน
การประเมินสมรรถนะของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ในสถานปฏิบัติจริง โดยแท้จริงแล้วตามหลักของ Miller’s “pyramid of competence” นักศึกษาจะต้องแสดงความสามารถให้ครูผู้สอนเห็นว่าพึงปฏิบัติได้ในสถานการณ์จริง (competency) ซึ่งถือเป็นระดับที่ประเมินยากที่สุดคือ “does” การประเมินว่ามีการเรียนรู้อย่างแท้จริง (authentic) โดยใช้ workplace-based assessment (WPBA) จึงมีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนักศึกษาต้องเผชิญกับปัญหาว่าแต่ละสถานการณ์นั้นมีความแตกต่างกัน โดยไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมีอะไร เกิดอะไรขึ้นบ้าง การประเมินที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการประเมินองค์ความรู้ ไม่ได้สะท้อนสมรรถนะโดยตรง จึงมีผลต่อความแตกต่างในการประเมินผลสำเร็จของการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ และไม่เป็นมาตรฐานกลางที่สามารถนำไปวิเคราะห์สาเหตุและแก้ไขในภาพรวมได้
การเรียนการสอนทางการแพทย์ (teaching medicine) และการฝึกปฏิบัติจำเป็นต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง (lifelong learning) กระบวนการในการพัฒนาตนเองนั้น ผู้เรียนจะต้องทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่กระทำได้โดยง่ายโดยเฉพาะนักศึกษา ผู้สอนจึงมีบทบาทสำคัญในการประเมินและสะท้อนข้อมูลกลับให้นักศึกษา (feedback and evaluation) เพื่อให้นักศึกษาเน้นจุดแข็งของตนเอง ทราบข้อจำกัดและหาโอกาสพัฒนา และประเมินตนเองต่อเนื่อง (self-reflection)
ดังนั้น การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้และทักษะด้านเภสัชศาสตร์ศึกษาให้แก่เภสัชกรแหล่งฝึก ทราบหลักในการจัดแนวทางการสอน การเลือกวิธีการสอน การประเมินและสะท้อนข้อมูลกลับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ในการฝึกปฏิบัติงาน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการก่อให้เกิดมาตรฐานการสอนการฝึกอบรม ซึ่งครูผู้สอนสามารถกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ของนักศึกษาในการนำความรู้ความสามารถไปแก้ไขปัญหา ตลอดจนการจัดการด้านยาที่มีประสิทธิผลและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยและผู้ป่วยที่ใช้ยาต่อไป
สมรรถนะของบัณฑิตเภสัชศาสตร์ จะต้องมีองค์ความรู้ และทักษะต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เหมาะกับแต่ละสถานการณ์ การฝึกอบรมเรียนรู้ทางเภสัชศาสตร์ในสถานปฏิบัติงานจริง (workplace-based education) ทั้งในโรงพยาบาล ร้านยา โรงงานผลิตยา บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายยา ถือเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นในกระบวนการเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์ เนื่องด้วยความหลากหลายและซับซ้อนของผู้ป่วยแต่ละราย การจัดระบบบริการด้านยาที่ต้องประสานหลายหน่วยงาน เภสัชกรแหล่งฝึกจึงมีความสำคัญในการสอนทักษะต่างๆ และปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีของวิชาชีพ (role model)
อย่างไรก็ตาม จากผลการประเมินโครงการต่างๆ พบว่าเภสัชกรแหล่งฝึกยังมีความแตกต่างกันในหลักการสอนซึ่งต้องมองให้ครบตามไตรยางค์การศึกษาให้สอดคล้องกัน ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ (objective) วิธีการสอน (learning method) และการประเมินผลลัพธ์ในการสอน (evaluation) กอปรกับข้อจำกัดของเวลาที่เภสัชกรแหล่งฝึกจัดการสอน มุมมองในส่วนของการทำงานเป็นทีม ตลอดจนการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ประเด็นเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญที่ส่งผลให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์ได้ฝึกการจัดการองค์ความรู้สู่การปฏิบัติที่เกิดประโยชน์แตกต่างกัน
การประเมินสมรรถนะของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ในสถานปฏิบัติจริง โดยแท้จริงแล้วตามหลักของ Miller’s “pyramid of competence” นักศึกษาจะต้องแสดงความสามารถให้ครูผู้สอนเห็นว่าพึงปฏิบัติได้ในสถานการณ์จริง (competency) ซึ่งถือเป็นระดับที่ประเมินยากที่สุดคือ “does” การประเมินว่ามีการเรียนรู้อย่างแท้จริง (authentic) โดยใช้ workplace-based assessment (WPBA) จึงมีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนักศึกษาต้องเผชิญกับปัญหาว่าแต่ละสถานการณ์นั้นมีความแตกต่างกัน โดยไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมีอะไร เกิดอะไรขึ้นบ้าง การประเมินที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการประเมินองค์ความรู้ ไม่ได้สะท้อนสมรรถนะโดยตรง จึงมีผลต่อความแตกต่างในการประเมินผลสำเร็จของการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ และไม่เป็นมาตรฐานกลางที่สามารถนำไปวิเคราะห์สาเหตุและแก้ไขในภาพรวมได้
การเรียนการสอนทางการแพทย์ (teaching medicine) และการฝึกปฏิบัติจำเป็นต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง (lifelong learning) กระบวนการในการพัฒนาตนเองนั้น ผู้เรียนจะต้องทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่กระทำได้โดยง่ายโดยเฉพาะนักศึกษา ผู้สอนจึงมีบทบาทสำคัญในการประเมินและสะท้อนข้อมูลกลับให้นักศึกษา (feedback and evaluation) เพื่อให้นักศึกษาเน้นจุดแข็งของตนเอง ทราบข้อจำกัดและหาโอกาสพัฒนา และประเมินตนเองต่อเนื่อง (self-reflection)
ดังนั้น การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้และทักษะด้านเภสัชศาสตร์ศึกษาให้แก่เภสัชกรแหล่งฝึก ทราบหลักในการจัดแนวทางการสอน การเลือกวิธีการสอน การประเมินและสะท้อนข้อมูลกลับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ในการฝึกปฏิบัติงาน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการก่อให้เกิดมาตรฐานการสอนการฝึกอบรม ซึ่งครูผู้สอนสามารถกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ของนักศึกษาในการนำความรู้ความสามารถไปแก้ไขปัญหา ตลอดจนการจัดการด้านยาที่มีประสิทธิผลและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยและผู้ป่วยที่ใช้ยาต่อไป
วัตถุประสงค์
• เพื่อให้เภสัชกรแหล่งฝึกมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในการถ่ายทอดองค์ความรู้และทัศนคติทีดีในการฝึกปฏิบัติงานแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
• เพื่อให้เภสัชกรแหล่งฝึกมีทักษะในการประเมินผลการฝึกปฏิบัติงาน
• เกิดเครือข่ายเภสัชกรแหล่งฝึกในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จัดการฝึกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรม
คำสำคัญ
การถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะการฝึกปฏิบัติงาน การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ การฝึกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรม
วิธีสมัครการประชุม
-