การประชุมวิชาการ
โครงการพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เขต 9
ชื่อการประชุม โครงการพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เขต 9
สถาบันหลัก โรงพยาบาลขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 4002-2-000-007-06-2560
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุมศรีผไท สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์
วันที่จัดการประชุม 08 -10 มิ.ย. 2560
ผู้จัดการประชุม โรงพยาบาลขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 16 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
Pharmacovigilance (PV) ในนิยามขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการค้นหา ประเมิน และป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (adverse event, AE) หรือปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับยา โดย PV มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อให้มีการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และเกิดความปลอดภัยในการใช้ยามากขึ้น และสนับสนุนนโยบายสาธารณสุขต่างๆให้มีการใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ประเมินประโยชน์และความเสี่ยงของการใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การวางแผนการรักษาด้วยยาให้แก่ผู้ป่วยแต่ละรายต้องพิจารณาทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัย ข้อมูลผลการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งที่นำมาใช้ประกอบพิจารณาวางแผนการรักษา ซึ่งการประเมินความน่าเชื่อถือของบทความและประโยชน์ในการนำมาใช้กับผู้ป่วยเป็นสิ่งที่เภสัชกรจะต้องมีทักษะในการประเมินและให้คำแนะนำปรึกษาแก่ทีมรักษาตลอดจนผู้ป่วยให้ชัดเจน ด้วยกลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ในการศึกษาอาจจะมีข้อจำกัดในกลายกลุ่ม แต่เมื่อยาออกสู่ท้องตลาดและนำยามาใช้จริงในเชิงปฏิบัติมีความหลากหลายของผู้ป่วยที่ต่างจากการศึกษา จึงต้องมีการติดตามความปลอดภัยการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อต้องการวางแผนทำการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านยาที่เป็นระบบ ความเข้าใจที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยของผู้ปฏิบัติยังมีไม่มากนัก อาจเนื่องมากจากการขาดทักษะ ความเข้าใจในการคิดเชิงระบบ ขาดทักษะการสืบค้นข้อมูล การทบทวนวรรณกรรม หรือไม่มั่นใจในการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลทางวิชาการที่ได้มา ดังนั้น จึงควรสร้างความเข้าใจในกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ที่นำไปสู่การวางแผนการศึกษาให้เป็นระบบ และนำไปสู่การศึกษาที่ถูกต้อง ช่วยให้มีข้อมูลผลการศึกษาด้านความปลอดภัยของการใช้ยาของผู้ป่วยที่น่าเชื่อถือ ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นข้อมูลอ้างอิงต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการรายงานการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่อบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อเป็นข้อมลในการวางแผนการรักษาร่วมกันในการดูแลผู้ป่วย การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์บางเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่พบไม่บ่อย เหมือนเป็นสัญญาณ (signal) ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน หรือโอกาสในการเกิดค่อนข้างน้อยมาก (rare case) และมีประเด็นในการเรียนรู้ ดังนั้น การสื่อสารกรณีศึกษาของผู้ป่วยบางรายควรมีการนำเสนอในวารสารหรือผยแพร่เป็นบทความทางวิชาการ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงกว้างขึ้น และนำไปสู่การวางแผนดูแลด้านยาให้แก่ผู้ป่วยให้ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เภสัชกรเข้าใจถึงหลักของ pharmacovigilance และเฝ้าระวังติดตามความปลอดภัยด้านยา
2. เพื่อให้เภสัชกรสามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และประเมินความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์กับสาเหตุได้เหมาะสม
3. เพื่อให้เภสัชกรสามารถใช้ข้อมูลทางวิชาการในการวางแผนเฝ้าระวังและติดตามความปลอดภัยด้านยา
4. เพื่อให้เภสัชกรสามารถเขียนรายงานกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน กระชับ และน่าเชื่อ
คำสำคัญ
pharmacovigilance, adverse event, evidence based medicine