การประชุมวิชาการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2560
ชื่อการประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2560
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-031-06-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องธนารมย์ 2 โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง
วันที่จัดการประชุม 09 มิ.ย. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยา อย่างสมเหตุผลจาก โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การใช้ยาอย่างสมเหตุผลเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศที่ต้องดำเนินการ เนื่องจากส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วยในด้านประสิทธิผล ความคุ้มค่า ปลอดภัยและสามารถลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ และปัญหาเชื้อดื้อยา องค์การอนามัยโลกมีคำจำกัดความของ “การใช้ยาอย่างสมเหตุผล” ไว้ คือ “ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพ โดยใช้ยาในขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม และมีค่าใช้จ่ายต่อชุมชนและผู้ป่วยน้อยที่สุด” “Patients receive medications appropriate to their clinical needs, in doses that meet their own individual requirements, for an adequate period of time, and at the lowest cost to them and their community” (WHO, 1985) และรายงานขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า ทั่วโลกมีการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลมากกว่าร้อยละ 50 ของการใช้ยา ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงจากผลข้างเคียงและอันตรายจากยา รวมถึงการสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทย ในปี 2555 พบว่า มูลค่าการบริโภคยาของคนไทยสูงถึง 1.4 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการใช้ยาเกินความจำเป็นถึง 2,370 ล้านบาทและเป็นการใช้ยายังมีข้อสงสัยต่อประสิทธิภาพอีก 4,000 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายด้านยาเติบโตใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ร้อยละ 7-8 ต่อปี แต่สูงกว่าอัตราการเติบโตของ จีดีพี (GDP) ประมาณร้อยละ 5-6 ต่อปี และที่สำคัญพบการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลในทุกระดับตั้งแต่ระดับสถานพยาบาลจนถึงชุมชน เช่น การบริโภคยาปฏิชีวนะโดยพบว่าประชาชนใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคหวัดซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสอย่างแพร่หลาย ประมาณร้อยละ 40-60 ในต่างจังหวัด และร้อยละ 70-80 ในกรุงเทพมหานคร แม้การส่งเสริมใช้ยาอย่างสมเหตุผลมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มมีนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2524 ก็ตาม ดังนั้น เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับการรักษาด้วยยาอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2559 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ประกาศนโยบายให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งส่งเสริม “การใช้ยาอย่างสมเหตุผล” กำหนดเป็นแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาที่ 15 และเป็นคำรับรองในการปฏิบัติงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและผู้ตรวจราชการกระทรวงในปีงบประมาณ 2560 เพื่อให้นโยบายพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลแปลงไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผล
กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการใช้ยาและเพื่อนำนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลไปสู่การปฏิบัติ จึงได้จัดทำ “โครงการจังหวัดตรังร่วมใจ ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ปีงบประมาณ 2560” ขึ้น
วัตถุประสงค์
1. ปี 2557 ประเทศไทยมีรายจ่ายด้านสุขภาพ 409,313 ล้านบาท (ข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ซึ่งงานวิจัยของ สวรส. พบว่าค่าใช้จ่ายด้านยาประมาณ 40% ของรายจ่ายสุขภาพ (ประมาณ 163,000 ล้านบาท) และปัญหาเชื้อดื้อยาของประเทศไทย พบการเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 38,000 คน คิดเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยรวมสูงถึง 4.2 หมื่นล้านบาทหรือประมาณ ร้อยละ 0.6 ของดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ
2. นโยบายกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้การใช้ยาอย่างสมเหตุผลในหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขเป็น Service ที่ 15 และเป็นคำรับรองในการปฏิบัติงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและผู้ตรวจราชการกระทรวงในปีงบประมาณ 2560 เพื่อให้นโยบายพัฒนาการใช้ยาอย่าง สมเหตุผลแปลงไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผล จึงควรพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่และประชาชนเพื่อให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
3. เกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ไม่ควรจ่ายยาปฏิชีวนะเกินร้อยละ 20 ในโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนและโรคอุจจาระร่วมเฉียบพลัน จังหวัดตรัง มีการจ่ายยาปฏิชีวนะมากกว่าเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 25.77 ในโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน และร้อยละ 42.75 ในโรคอุจจาระร่วมเฉียบพลัน
คำสำคัญ
1. โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 2. การใช้ยาอย่างสมเหตุผล 3. RDU
วิธีสมัครการประชุม
-