การประชุมวิชาการ
โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในเขตบริการสาธารณสุขที่ 5
ชื่อการประชุม โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในเขตบริการสาธารณสุขที่ 5
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-2-000-025-06-2560
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมโกลเด้นซิตี้ อ.เมือง จ.ราชบุรี
วันที่จัดการประชุม 20 มิ.ย. 2560
ผู้จัดการประชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี
กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 8 จังหวัดในเขตบริการสาธารณสุขที่ 5 รวม 110 คน , เครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู นักเรียน อสม
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นภารกิจที่สำคัญของรัฐในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความปลอดภัย เป็นธรรม ประหยัดและสมประโยชน์ รัฐจึงได้กำหนดให้มีองค์การหรือหน่วยงานขึ้นเพื่อรับผิดชอบดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคดังกล่าว อย่างไรก็ดีจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ผ่านมา ทำให้ปัญหาที่เกี่ยวกับการบริโภคทวีความสำคัญและความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จะเห็นได้ว่าปัญหาอันตรายที่เกิดจากการใชัและบริโภคอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองการปกครอง ควรจะต้องเร่งดำเนินการป้องกันและแก้ไข
กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุขระยะ 20 ปี รองรับอนาคตที่มีความเป็นสังคมเมือง สังคมผู้สูงอายุ โดยมีเป้าหมายให้ ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน กำหนดเป้าหมายการปฏิรูปด้านสาธารณสุขระยะ 18 เดือน โดยมีการกำหนดแผนงานความปลอดภัยด้านอาหารและลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และแผนความมั่นคงด้านยาและเวชภัณฑ์และการคุ้มครองผู้บริโภค ไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุขระยะ 20 ปี
จากสถานการณ์ดังกล่าวมีความจำเป็นที่จะต้องมีกลไกในการเสริมสร้างและสนับสนุนความเข้มแข็งและคุณภาพขององค์กรคุ้มครองผู้บริโภคระดับพื้นที่เพื่อสร้างความสมดุลโดยเฉพาะการส่งเสริมบทบาทและศักยภาพของภาคประชาสังคมให้เข้มแข็งขึ้น การสนับสนุนเครือข่ายวิชาการเพื่อพัฒนานโยบายในการจัดการสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัยและการสร้างความร่วมมือกับท้องถิ่น เอกชนและสื่อมวลชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
ในปีงบประมาณ ๒๕60 นี้ เขตบริการสาธารณสุขที่ ๕ อันประกอบด้วย เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสงครามและสมุทรสาคร เห็นว่าควรพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค โดยพัฒนาความรู้และให้เครือข่ายได้นำเสนอแนวทางการทำงานในแต่ละจังหวัด และค้นหา Best Practice เพื่อเป็นตัวอย่างแนวทางการดำเนินการในแต่ละพื้นที่ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างภาคีเครือข่ายในเขตบริการสาธารณสุขที่ ๕ พร้อมกันนี้ยังสนับสนุนให้มีการร่วมกันวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานและปัจจัยที่ส่งผลไม่ทำให้เกิดผลสำเร็จในการดำเนินงาน ในการอบรมครั้งนี้ใช้สถานที่เอกชนในการจัดประชุม เนื่องจากสถานที่ราชการไม่มีที่พัก
วัตถุประสงค์
1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยอย่างเป็นระบบทั้งผู้บริโภค ผู้จำหน่าย ผู้ผลิต และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
2. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการแก้ปัญหาใหม่ๆตามบริบทของแต่ละพื้นที่ซึ่งนำพาสู่ Best Practices ของการแก้ปัญหา
คำสำคัญ