การประชุมวิชาการ
Microbial contamination risk assessment in aseptic, non sterile and terminally sterilized products
ชื่อการประชุม Microbial contamination risk assessment in aseptic, non sterile and terminally sterilized products
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-2-000-005-09-2560
สถานที่จัดการประชุม โรงแรม แอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 06 -07 ก.ย. 2560
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ในระบบจัดการด้านคุณภาพ ประกันคุณภาพ ควบคุมคุณภาพ ผลิต วิจัยและพัฒนา นักจุลชีวะวิทยา วิศวกรผู้ออกแบบสถานที่ เครื่องมือ และ บำรุงร
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุดในการปนเปื้อนทั้ง viable ( พวกจุลชีพ ) และ non viable ( พวกอนุภาคต่างๆ ) ความเสี่ยงของการปนเปื้อนโดยเฉพาะด้านจุลชีพ มีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไปในผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ปราศจากเชื้อในขั้นตอนสุดท้าย ( terminally sterilized product ) ผลิตภัณฑ์ไม่ปราศจากเชื้อ ( non sterile product ) และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยกระบวนการปราศจากเชื้อ ( aseptic process )
แหล่งการปนเปื้อนจุลชีพในผลิตภัณฑ์ มีได้หลายทางเช่น จากบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ สภาวะแวดล้อม วัตถุตั้งต้น วัสดุการบรรจุ สารอื่นๆที่ใช้ในการผลิต ระบบสนับสนุนการผลิต ได้แก่ ระบบอากาศ ระบบน้ำ ระบบลมอัด รวมถึง กระบวนการผลิต กระบวนการวิเคราะห์ การสุ่มตัวอย่าง ที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม การปนเปื้อนด้านจุลชีพของการผลิตมีผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆแตกต่างกันไป การประเมินความเสี่ยงของการปนเปื้อนด้านจุลชีพ ต้องเริ่มตั้งแต่การเข้าใจถึงคุณลักษณะและกระบวนการผลิตประเภทต่างๆ การออกแบบเครื่องมือ อุปกรณ์ ระบบสนับสนุนการผลิต ที่ถูกต้องเหมาะสม การใช้งานและ การบำรุงรักษา เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน อีกทั้งต้องเข้าใจและเรียนรู้ถึงคุณสมบัติของจุลชีพแต่ละชนิดที่พบ เช่นในระบบอากาศ ระบบน้ำ และก๊าซที่ใช้ในกระบวนการผลิต ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและวิธีการทำลายหรือกำจัดจุลชีพเหล่านั้น พร้อมทั้งการควบคุม การตรวจติดตาม ( monitoring ) การปนเปื้อนจุลชีพจากผลการประเมินความเสี่ยง
ระดับความเสี่ยงการปนเปื้อนจุลชีพของผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ปราศจากเชื้อในขั้นตอนสุดท้าย ผลิตภัณฑ์ไม่ปราศจาเชื้อ และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยกระบวนการปราศจากเชื้อ มีความรุนแรงแตกต่างกันไป จึงต้องมีความเข้าใจในการประเมินความเสี่ยง ผลกระทบที่เกิดขึ้น การควบคุม การลดความเสี่ยง และในการกำหนดเกณฑ์เพื่อปล่อยผ่านของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของเภสัชตำรับ หรือมาตรฐานที่กำหนด เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ และคุณภาพของผลิตภัณฑ์
วัตถุประสงค์
 1. สร้างความตระหนักของผู้ผลิตให้เห็นถึงความสำคัญของการปนเปื้อนจุลชีพในผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อความความปลอดภัยของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์และคุณภาพของผลิตภัณฑ์
 2. เพื่อเรียนรู้จุลชีววิทยา ( microbiology ) เกี่ยวกับชนิด คุณลักษณะ และแหล่งการปนเปื้อน
 3. เพื่อทราบถึงผลกระทบของการปนเปื้อนจุลชีพในผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทที่มีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน
 4. เพื่อทราบแนวทางการประเมินความเสี่ยง การควบคุม การลดความเสี่ยง และ การตรวจติดตามการปนเปื้อนจุลชีพ ในระบบน้ำ อากาศ ก๊าซที่ใช้ในกระบวนการผลิต
 5. เพื่อเรียนรู้ข้อกำหนดการแต่งกายของบุคลากรในcleanroom การผลิตผลิตภัณฑ์ปราศจากเชื้อ และไม่ปราศจากเชื้อ
 6. เพื่อทราบและเข้าใจเกณฑ์มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ยาไม่ปราศจากเชื้อ ตามเภสัชตำรับ เช่นUSP <1111> , USP <61> และ USP <62> เพื่อ คุณภาพของผลิตภัณฑ์และ ความปลอดภัย ของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
 7. เพื่อเรียนรู้การประเมินความเสี่ยงการปนเปื้อนระหว่างกระบวนการวิเคราะห์ เพื่อไม่ให้เกิด false positive หรือ false negative ซึ่งส่งผลต่อการสูญเสียผลิตภัณฑ์ หรือความเสี่ยงต่อผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
คำสำคัญ
microbial contamination, risk assessment, aseptic, non sterile product, terminally sterilized product
วิธีสมัครการประชุม
- สมาชิก TIPA คนละ 4,280 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ) - ไม่ใช่สมาชิกคนละ 5,350 บาท (รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ) สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ ( ประเทศไทย ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ผู้ประสานงาน คุณ สุวรรณี โทร 085-191-0011/02-713-5592