การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ เรื่อง การรักษาและให้คำแนะนำเพื่อแก้ปัญหาผิวด้วยเวชสำอางสำหรับเภสัชกรชุมชน
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เรื่อง การรักษาและให้คำแนะนำเพื่อแก้ปัญหาผิวด้วยเวชสำอางสำหรับเภสัชกรชุมชน
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-042-09-2560
สถานที่จัดการประชุม โรงแรม อนันตรา สยาม กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 10 ก.ย. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรผู้ปฏิบัติหน้าที่ในร้านยา หรือเภสัชกรที่สนใจทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปัญหาผิวหนัง เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขที่พบเจอได้มากในร้านยาเช่นโรคสิวและผื่นผิวหนังอักเสบ ผิวแห้ง และผิวแพ้ง่าย ซึ่งโรคดังกล่าวส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของตัวผู้ป่วยและอาจนำมาสู่โรคหรือความผิดปกติของระบบร่างกายส่วนอื่นๆ ได้ ดังนั้นจึงเป็นบทบาทและความท้าทายของเภสัชกรที่ปฏิบัติการในร้านยา ในฐานะผู้ให้การรักษาและแนะนำการดูแลอาการของโรคเหล่านี้ให้แก่ผู้ป่วย ปัญหาของผิวหนังที่พบบ่อยนั้น ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจัยบางประการสามารถควบคุมได้ หากเภสัชกรผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคและหลักการรักษา รวมถึงให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย
ในการนี้ ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม และ หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท นาโอส (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้จัดประชุมวิชาการเรื่อง “การรักษาและให้คำแนะนำเพื่อแก้ปัญหาผิวด้วยเวชสำอางสำหรับเภสัชกรชุมชน” เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลทางวิชาการที่เป็นปัจจุบันของการดูแลรักษาปัญหาผิวหนัง โดยเฉพาะการรักษาสิวและผื่นผิวหนังอักเสบซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในร้านยา รวมไปถึงหลักการเลือกใช้และแนะนำผลิตภัณฑ์เวชสำอางโดยพิจารณาจากคุณสมบัติของส่วนประกอบและกระบวนการผลิต ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้จะช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยของเภสัชกรในร้านยา ส่งผลให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มารับบริการในร้านยาดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์
• เพื่อเพิ่มพูนทักษะและความรู้ของเภสัชกรที่ปฏิบัติหน้าที่ในร้านยาในการให้บริการผู้ป่วยที่มีปัญหาผิว เช่น สิวและผื่นผิวหนังอักเสบรวมถึงภูมิแพ้ผิวหนัง
• เพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับส่วนประกอบและเทคโนโลยีการผลิตของผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อให้เภสัชกรที่ปฏิบัติหน้าที่ในร้านยาสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
• เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาผิวในร้านยา
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-218-8283, 02-218-8454 หรือe-mail: ce@pharm.chula.ac.th โดยมีอัตราค่าลงทะเบียนดังนี้ o ชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ท่านละ 2,800 บาท o ชำระค่าลงทะเบียนหลังวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ท่านละ 3,500 บาท