การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการเพื่อการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ครั้งที่ 3/2560
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเพื่อการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ครั้งที่ 3/2560
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-2-000-022-08-2560
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุมโรงแรมสิกขรา พลาโซ่ รีสอร์ท บางแสน จ.ชลบุรี
วันที่จัดการประชุม 27 ส.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรจังหวัดชลบุรี
กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกของชมรมเภสัชกรจังหวัดชลบุรี และเภสัชกรที่สนใจ ประมาณ 120 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ชมรมเภสัชกรจังหวัดชลบุรีจัดบรรยายวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพของสมาชิกชมรมและเพิ่มพูนความรู้
ให้กับเภสัชกรชุมชนและเภสัชกรที่สนใจ ในการเลือกใช้ยาและให้คำแนะนำผู้ป่วยในองค์ความรู้ที่ทันสมัย และเหมาะสมกับโรคของแต่ละบุคคล อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงโอกาสเกิดอันตรายจากการใช้ยาต่างๆ เช่น อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ การใช้ยาซ้ำซ้อน การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา รวมไปถึงสามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ลดปัญหาการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้ป่วย โดยในปัจจุบันการจัดการปัญหาจากกการใช้ยาดังกล่าวในร้านขายยาให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพเป็นไปได้ยาก เนื่องจากความซับซ้อนของโรค และจำนวนรายการยามีความหลากหลายมากขึ้น การใช้เทคโนโลยี่ที่เหมาะสมมาจัดการปัญหาดังกล่าว น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสม มากกว่าโดยที่ผ่านมามีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายๆโปรแกรมมาจัดการปัญหาดังกล่าว แต่พบปัญหาในความไม่หลากหลายในการจัดการปัญหา เช่น บางโปรแกรมสามารถแก้ปัญหาด้าน บริหารเวชภัณฑ์ได้ดี แต่ไม่มีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ในทางบริบาลเภสัชกรรมที่เพียงพอและบางโปรแกรมยังมีค่าใช้จ่ายสูง ในการใช้งาน และไม่ปลอดภัยในการถูกจรกรรมข้อมูล หรือข้อมูลสูญหายจากอุบัติเหตุ ดังนั้นในการประชุมครั้งนี้ ชมรมเภสัชกรจังหวัดชลบุรี จึงจะนำเสนอโปรแกรมการจัดการร้านขายยา อย่างครบวงจร สามารถแก้ปัญหาหลักๆได้อย่างรอบด้านทั้งการบริหารเวชภัณฑ์ และด้านการบริบาลเภสัชกรรมในร้านขายยา รวมถึงสามารถเชื่อมโยงกับระบบภาษีร้านขายยาที่ ผู้รับอนุญาตขายยาทุกร้านที่มียอดขายระดับหนึ่งที่ต้องถูกบังคับให้เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และเข้าระบบจัดตั้งเป็นนิติบุคคลตามลำดับ ตามนโยบายของรัฐบาลได้มีการประกาศเปลี่ยนแปลงระบบการคิดภาษีของร้านขายยา โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในปีหน้า (2561) ซึ่งจะส่งผลกระทบกับเภสัชกรที่เกี่ยวข้องกับร้านขายยาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านขายยา ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการที่จะ ปฏิบัติตัวหรือปรับเปลี่ยนการจ่ายภาษีได้ถูกต้องตามกฎหมายใหม่เมื่อเทียบกับระบบเดิม โดยในการประชุมครั้งนี้ จะได้รับข้อมูลการบริหารภาษี จากนักบัญชีที่มีประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญในการวางแผนภาษี เพื่อให้เภสัชกรทุกท่านมีความเข้าใจและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจแนวทางการจัดการภาษี ในร้านขายยาตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อนำไปปรับใช้ในการบริหารภาษีในร้านขายยา และสามารถเสียภาษีได้ถูกต้องตามกฎหมาย ตามบริบทของร้านขายยาของตนเอง
2. เพื่อให้มีทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการบริหารเวชภัณฑ์ในร้านขายยา
3. สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วยที่มารับบริการที่ร้านขายยาได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์, บริหารเวชภัณฑ์,ความปลอดภัยด้านยาของผู้ป่วยในร้านขายยา,ระบบภาษีร้านยา